ผู้ป่วยสมาธิสั้นได้เฮ! อย.ปรับลดราคายาเมทิลเฟนิเดต ไฮโดรคลอไรด์ ลง 36% เพื่อเป็นการลดภาระแก่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยานี้เป็นประจำ โดยก่อนหน้านี้ อย.ได้ประกาศปรับลดราคายาแก้ปวดมะเร็ง Fentanyl Transdermal Patch (เฟนตานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง) ในขนาดต่าง ๆ 25 -36 % โดยยาทั้งสองรายการจะมีผลลดราคาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.52 นี้
นพ. พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้แก่สถานพยาบาลต่างๆ ปรับลดราคาวัตถุเสพติดจำเป็นที่ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของ โรงพยาบาล คลินิก ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาราคาถูกลง ทั้งนี้ อย.ได้ปรับระบบการจัดซื้อ โดยเปิดกว้างให้มีการแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพในราคาที่ถูก และได้ประกาศปรับลดราคายาแก้ปวดสำหรับโรคมะเร็ง Fentanyl Transdermal Patch (เฟนตานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง )ในขนาดต่าง ๆ 25-36% ไปแล้วนั้น
อย.ขอแจ้งให้ สถานพยาบาล โรงพยาบาลต่าง ๆ และผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยารักษาโรคสมาธิสั้นว่า อย.ได้ปรับลดราคายาMethylphenidate HCI 10 mg./tab (Ritalin) เมทิลเฟนิเดต ไฮโดรคลอไรด์ 10มิลลิกรัม ขนาดบรรจุ 200 เม็ด/กล่อง (ริตาลิน) ราคาเดิมกล่องละ 1,400 บาท ราคาใหม่กล่องละ 900 บาทโดยปรับลดลง 36 % ทั้งนี้ ราคาใหม่ของยาทั้งสองรายการมีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไปนพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี กล่าวต่อไปว่า อย.ได้พยายามจัดหาแหล่งยาที่มีคุณภาพ ราคายุติธรรม รวมทั้งเจรจากับผู้จำหน่าย เพื่อให้ได้ยาราคาถูกลง จะได้ไม่เป็นภาระกับผู้ป่วยโดยเฉพาะยารักษาโรคสมาธิสั้นที่ผู้ป่วยจะต้องใช้ตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นภาระหนัก โดยเฉพาะนักเรียนและเยาวชน นอกจากนี้ อย.มีเป้าหมายที่จะปรับลดราคาวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ทุกรายการที่ อย.จำหน่าย เพื่อประโยชน์ของประชาชน
อย.เตือนใช้'ยาสมาธิสั้น' ทำให้เด็กตายเฉียบพลัน สั่ง'ควบคุม'การนำเข้า!! เตรียมประกาศ'ห้ามใช้'
อย.เตือนใช้'ยาสมาธิสั้น' ทำให้เด็กตายเฉียบพลัน สั่ง'ควบคุม'การนำเข้า!! เตรียมประกาศ'ห้ามใช้'
อย.ประกาศเตือนการใช้ "ยาสมาธิสั้น"รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งอาจส่งผลทำให้"ตายเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุ สั่งควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในไทย
วันที่ 3 ธ.ค. 2552 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วารสารทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษา พบว่า การใช้ "ยาสมาธิสั้น" อาจสัมพันธ์กับสาเหตุของการ "ตายอย่างเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุในเด็ก องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) เตรียมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ล่าสุดคาดว่าจะเลื่อนการรายงานไปเป็นสิงหาคม2553 ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ติดตามเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด เฉพาะควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ไม่ให้เพิ่มในอัตราที่เกินความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าอย.ทำให้ยาขาดแคลน จึงขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่งให้เบิกยาแค่พอใช้หากมีการประกาศห้ามใช้จะได้ไม่ต้องสูญเสียยามากเกินไป
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะร่วมกันแถลงว่า "ยาสมาธิสั้น" ที่ใช้รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งมากขึ้น และมีข่าวว่าขาดแคลน อย.สั่งยาเข้ามาในประเทศจำนวนน้อย เนื่องมาจาก อย.ได้ติดตามรายงานจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้ให้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความชุกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมากมายกับเด็ก โดยใช้เวลาศึกษานานพอสมควรและพบว่า
"การใช้ยาสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นอาจห้ามใช้ยานี้ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ให้มีการศึกษาทบทวนอีกครั้งทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งเดิมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ภายในเดือนธันวาคมปีนี้"
ล่าสุดมีรายงานเพิ่มเติมจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ คาดว่าจะเลื่อนการรายงานออกไป คาดว่าจะทราบผลในเดือนสิงหาคม 2553 ส่วนในผู้ใหญ่จะทราบผลในเดือนตุลาคม 2553 โดยผลสรุปดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าจะประกาศห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ในส่วนของ อย.เอง เมื่อทราบข่าวนี้ได้เชิญราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต เพื่อปรึกษาหารือ ซึ่งผู้แทนแพทย์ทุกคนต่างแจ้งว่าสามารถควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวในไทย
อย่างไรก็ตาม อย.ต้องติดตามและควบคุมการใช้ยาสมาธิสั้น โดยเจาะจงให้แพทย์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น รวมทั้งให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังการใช้ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ นอกจากนี้ อย.จะไม่สั่งยานี้เข้ามาเพิ่มมากจนเกินความเหมาะสมหรือผิดปกติ เพราะนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว ยังป้องกันการสั่งเข้ามาโดยเสียประโยชน์ หากมีการประกาศยกเลิกการใช้
นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการ ฯ (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในไทยมียาสมาธิสั้นอยู่ 4 ตัว คือ ยา Ritalin ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Rubifen ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Concerta ขนาด 18 mg. ต่อเม็ด และยา Concerta ขนาด 36 mg. ต่อเม็ด ยาประเภทนี้กินแล้วติดได้ จึงจัดเป็นวัตถุเสพติด ในปีนี้ อย.ได้ปรับระบบการจัดซื้อยา ให้มีการแข่งขันจากบริษัทชั้นนำ เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพดีและราคาถูกซึ่งผลปรากฏว่าได้ยาจากบริษัทเดิมของประเทศเยอรมนี และสเปน ทั้งนี้ ทำให้ราคายาลดลงจากราคาเดิม 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติมีการสั่งซื้อยาดังกล่าวจาก อย.จำนวนไม่เกิน 6 แสนเม็ดต่อเดือน ในวันนี้ ( 30 พ.ย. 52 ) มียาสมาธิสั้นเข้ามาที่ อย. จำนวน 140,000 เม็ด และในช่วงสัปดาห์ถัดไป จะมียาสมาธิสั้นเข้ามาอีก 1,500,000 เม็ด ซึ่งจะเพียงพอใช้ประมาณ 2 เดือนเศษ แต่ถ้ามีการประกาศห้ามใช้จริง อย.ยังมีการเตรียมการโดยมียาตัวอื่นที่ได้รับอนุญาตทะเบียนตำรับยาและผ่านการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแล้ว ใช้ทดแทนได้ แต่อาจมีราคาแพงขึ้น ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าว อย.ได้มีการเตรียมนำเข้ายานี้อีก 5,400,000 เม็ด โดยจะทยอยนำเข้าให้เหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป
From : http://thaiinsider.info/
อย.ประกาศเตือนการใช้ "ยาสมาธิสั้น"รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งอาจส่งผลทำให้"ตายเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุ สั่งควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในไทย
วันที่ 3 ธ.ค. 2552 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วารสารทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษา พบว่า การใช้ "ยาสมาธิสั้น" อาจสัมพันธ์กับสาเหตุของการ "ตายอย่างเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุในเด็ก องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) เตรียมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ล่าสุดคาดว่าจะเลื่อนการรายงานไปเป็นสิงหาคม2553 ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ติดตามเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด เฉพาะควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ไม่ให้เพิ่มในอัตราที่เกินความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าอย.ทำให้ยาขาดแคลน จึงขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่งให้เบิกยาแค่พอใช้หากมีการประกาศห้ามใช้จะได้ไม่ต้องสูญเสียยามากเกินไป
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะร่วมกันแถลงว่า "ยาสมาธิสั้น" ที่ใช้รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งมากขึ้น และมีข่าวว่าขาดแคลน อย.สั่งยาเข้ามาในประเทศจำนวนน้อย เนื่องมาจาก อย.ได้ติดตามรายงานจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้ให้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความชุกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมากมายกับเด็ก โดยใช้เวลาศึกษานานพอสมควรและพบว่า
"การใช้ยาสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นอาจห้ามใช้ยานี้ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ให้มีการศึกษาทบทวนอีกครั้งทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งเดิมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ภายในเดือนธันวาคมปีนี้"
ล่าสุดมีรายงานเพิ่มเติมจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ คาดว่าจะเลื่อนการรายงานออกไป คาดว่าจะทราบผลในเดือนสิงหาคม 2553 ส่วนในผู้ใหญ่จะทราบผลในเดือนตุลาคม 2553 โดยผลสรุปดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าจะประกาศห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ในส่วนของ อย.เอง เมื่อทราบข่าวนี้ได้เชิญราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต เพื่อปรึกษาหารือ ซึ่งผู้แทนแพทย์ทุกคนต่างแจ้งว่าสามารถควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวในไทย
อย่างไรก็ตาม อย.ต้องติดตามและควบคุมการใช้ยาสมาธิสั้น โดยเจาะจงให้แพทย์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น รวมทั้งให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังการใช้ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ นอกจากนี้ อย.จะไม่สั่งยานี้เข้ามาเพิ่มมากจนเกินความเหมาะสมหรือผิดปกติ เพราะนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว ยังป้องกันการสั่งเข้ามาโดยเสียประโยชน์ หากมีการประกาศยกเลิกการใช้
นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการ ฯ (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในไทยมียาสมาธิสั้นอยู่ 4 ตัว คือ ยา Ritalin ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Rubifen ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Concerta ขนาด 18 mg. ต่อเม็ด และยา Concerta ขนาด 36 mg. ต่อเม็ด ยาประเภทนี้กินแล้วติดได้ จึงจัดเป็นวัตถุเสพติด ในปีนี้ อย.ได้ปรับระบบการจัดซื้อยา ให้มีการแข่งขันจากบริษัทชั้นนำ เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพดีและราคาถูกซึ่งผลปรากฏว่าได้ยาจากบริษัทเดิมของประเทศเยอรมนี และสเปน ทั้งนี้ ทำให้ราคายาลดลงจากราคาเดิม 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติมีการสั่งซื้อยาดังกล่าวจาก อย.จำนวนไม่เกิน 6 แสนเม็ดต่อเดือน ในวันนี้ ( 30 พ.ย. 52 ) มียาสมาธิสั้นเข้ามาที่ อย. จำนวน 140,000 เม็ด และในช่วงสัปดาห์ถัดไป จะมียาสมาธิสั้นเข้ามาอีก 1,500,000 เม็ด ซึ่งจะเพียงพอใช้ประมาณ 2 เดือนเศษ แต่ถ้ามีการประกาศห้ามใช้จริง อย.ยังมีการเตรียมการโดยมียาตัวอื่นที่ได้รับอนุญาตทะเบียนตำรับยาและผ่านการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแล้ว ใช้ทดแทนได้ แต่อาจมีราคาแพงขึ้น ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าว อย.ได้มีการเตรียมนำเข้ายานี้อีก 5,400,000 เม็ด โดยจะทยอยนำเข้าให้เหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป
From : http://thaiinsider.info/
ครอบครัวเป็นสุขในยุคดิจิตอล เมื่อเทคโนโลยีช่วยให้ทุกหัวใจใกล้กันได้
บางคนอาจมองว่าเทคโนโลยีก็คือเหรียญสองด้าน มีทั้งด้านดีและด้านร้าย แต่หากพิจารณากันอย่าง ละเอียดรอบครอบ ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีมีด้านดีมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต
ในยุคสมัยที่การใช้ชีวิตประจำวันของเราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา เราไม่อาจปฏิเสธโทรศัพท์มือถือที่ใช้สื่อสารกันทุกที่ทุกเวลา บางเวลาเราจำเป็นต้องส่งข้อความถึงใครสักคนผ่าน sms ส่งภาพความประทับใจหรือเหตุการณ์สำคัญในขณะหนึ่งขณะใดผ่าน mms ทุกวันนี้แทบจะทุกสำนักงานต้องทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกว่าอีเมลถึงกันและกัน และระหว่างเวลาทำงานหรือยามว่างเรายังchat กับเพื่อนผ่านmsn และยังร่วมสมัครเป็นสมาชิก hi5 เว็บไซต์ยอดฮิตของคนหาเพื่อนแหล่งใหญ่ที่สุด ฯลฯ
ด้านดีของเทคโนโลยีที่สำคัญก็คือช่วยสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวให้ใกล้ชิดและอบอุ่นมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีย่อโลกให้เล็กลง ทำให้ทุกชีวิตบนโลกใบนี้ใกล้กันมากขึ้น สามารถสื่อสาร บอกรัก บอกความห่วงใย ช่วยเหลือกันยามเกิดเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งยังเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ เป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลที่ช่วยให้การใช้ชีวิตดีขึ้น
แม้จะมีด้านร้ายของเทคโนโลยีที่เป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อยครั้งถึงพิษภัยของโลกไฮเทค เช่นคลิปวิดิโอภาพลับของดาราคนดังที่ถูกนำไปโพสต์ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ การหลอกลวงต้มตุ๋นทรัพย์สิน หรือแม้แต่การหลอกลวงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เด็กที่ติดเกมคอมพิวเตอร์อย่างหนักจนเสียการเรียน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทุกคนในโลกออนไลน์ต้องระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน และวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องการความตื่นเต้น อยากรู้อยากลอง อยากหาประสบการณ์ อยากมีเพื่อนใหม่โดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศ หรือแม้แต่ปัญหาเด็กติดเกมจนเสียการเรียน ฯลฯ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กติดเกม หรือแสวงหาความรักทางอินเตอร์เน็ตจนเกิดเหตุถูกหลอกได้อย่างง่ายดาย ส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวขาดความสนใจเอาใจใส่บุตรหลาน พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก มัวแต่ทำมาหากิน ทำให้เด็กขาดความรักความอบอุ่น จึงหันไปติดเกม ติดแชท เพื่อคลายความเหงาและสร้างความเพลิดเพลินความสุขให้ชีวิต นานวันก็ยิ่งทำให้ห่างเหินกับพ่อแม่ ทำให้หลายคนหันไปกล่าวโทษว่าเทคโนโลยีเป็นตัวการสำคัญทำให้ครอบครัวยุคใหม่ต้องห่างเหินกัน
ขณะเดียวกันหากเรารู้จักใช้เทคโนโลยีในด้านดี เราจะพบประโยชน์มหาศาล มีผลสำรวจยืนยันแล้วว่าครอบครัวยุคดิจิตอลสามารถใช้เทคโนโยลีช่วยเติมเต็มความรัก สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวให้อบอุ่นใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้
งานวิจัยของ Pew Research Center เมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า แม้จะมีผู้กังวลกันมากว่าเทคโนโลยีจะทำให้ครอบครัวห่างเหินกัน แต่ผลสำรวจพบว่าคู่สมรสใช้โทรศัพท์ติดต่อกันและกัน ซึ่งช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีให้ชีวิตคู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยเฉพาะได้ใช้สื่อสารถึงลูก ๆ ที่อยู่ที่บ้าน และแม้คนในครอบครัวต้องแยกจากกัน อยู่กันคนละทิศคนละทางห่างไกลกันแค่ไหน แต่ทุกคนก็ยังติดต่อกันได้อย่างง่ายดายด้วยโทรศัพท์มือถือ และทางอินเตอร์เนต ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารในยุคเดิมที่ต้องใช้จดหมาย โทรเลข หรือโทรศัพท์พื้นฐานที่ไปไม่ทั่วทุกพื้นที่ กว่าจะสื่อสารถึงกันได้ต้องใช้เวลานาน
ผลสำรวจยังพบว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของคู่สมรสชาวอเมริกัน โทรศัพท์หากันวันละครั้งเป็นอย่างน้อย โดยใช้เทคโนโลยีเช่นโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต เพื่อทักทายพูดคุยกันทุกครั้งที่ต้องอยู่ห่างไกลกัน
เทคโนโลยียังช่วยสร้างความใกล้ชิดให้ครอบครัวยุคดิจิตอลได้อย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ธุรกิจการงานสามารถติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีพ่อแม่จำนวนมากสามารถทำงานที่บ้านได้มากขึ้น ทำให้เพิ่มเวลาใกล้ชิดลูกได้มากขึ้นเช่นกัน ผลสำรวจระบุว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามยืนยันว่าชีวิตในยุคจิตอล ทำให้ครอบครัวอบอุ่นใกล้ชิดกันมากขึ้น มีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์บอกว่าครอบครัวไม่ได้ใกล้ชิดกันเหมือนเดิม
ในแต่ละวันเราสามารถเติมเต็มความรักผ่านเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถโทรหาคนที่คุณรักหรือทุกคนในครอบครัวได้ทุกวัน หรือแชตออนไลน์พูดคุยกับคนรักญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ทั้งใกล้และไกลคนละซีกโลกเพื่อถามสารทุกข์สุขดิบได้ตลอดเวลา คุณสามารถเปิดเว็บแคมเพื่อเห็นหน้ากันและกันระหว่างสนทนา ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ใกล้กันสร้างความสนิทสนมได้เหมือนเดิม หรือแม้แต่โทรหาแสดงความห่วงใยผู้คนที่อยู่ห่างไกลได้มากมายในแต่ละวัน และแม้แต่ในยามชีวิตมีความทุกข์หาทางออกไม่ได้ เทคโนโลยีช่วยให้คุณติดต่อใครสักคนหรือขอคำแนะนำเพื่อคลายความทุกข์ได้ทันท่วงที ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือการเติมเต็มความรัก ความห่วงใยที่โลกดิจิตอลสร้างสรรค์ความสุขให้แก่ทุกคน
ขอให้ใช้ด้านดีที่สุดของเทคโนโลยี..เพื่อทำให้หัวใจของทุกคนในครอบครัวรู้สึกเหมือนได้อยู่ใกล้ชิดกันตลอดเวลา...หากครอบครัวมีความสุขความอบอุ่นที่ดีพอ....ด้านร้ายของเทคโนโลยีจะไม่มีวันทำร้ายครอบครัวคุณได้เลย..เพราะภูมิคุ้มกันความรักของครอบครัวคุณเข้มแข็งเพียงพอที่จะต่อสู้และเอาชนะต่อทุกสิ่ง
ที่มา :
http://www.ppat.or.th
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ
Nursing Care of the Comatose Child
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อสิ้นสุดการเรียนผู้เรียนจะสามารถ
1. อธิบายระดับของความรู้สึกตัวของเด็กได้ถูกต้อง
2. บอกเกณฑ์การประเมินภาวะหมดสติในเด็กได้ถูกต้อง
3. อธิบายแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพเด็กที่มีภาวะหมดสติได้
4. ระบุเป้าหมายและแนวทางการพยาบาลเด็กในภาวะหมดสติได้ถูกต้องและเหมาะสม
เมื่อเด็กเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต หรือเรื้อรัง ปัญหาที่คุกคามต่อชีวิตของเด็กที่พบบ่อยประการหนึ่งคือ ภาวะไม่รู้สึกตัว (unconscious state) ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการการรักษาและการพยาบาลอย่างใกล้ชิด อาการหมดสติ (coma) เป็นระดับความไม่รู้สึกตัวระดับหนึ่งซึ่งเด็กป่วยจะไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะรุนแรงหรือก่อให้ เกิดความเจ็บปวดก็ตาม (Ball and Bindler, 1995 ; Hockenberry, 2005) เมื่อเด็กมีอาการหมดสติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม จะมีผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง เช่น อาจมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ มีความผิดปกติของระบบผิวหนัง รวมทั้งไม่สามารถรับประทานอาหารและขับถ่ายเองได้ เป็นต้น ส่วนผลกระทบต่อครอบครัว โดยเฉพาะบิดามารดาของผู้ป่วยที่หมดสติ จะรู้สึกตกใจ กลัว และวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของบุตร บางครั้งอาจแสดงออกโดยแสดงอาการไม่เชื่อในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุตร รู้สึกกลัวการแยกจากบุตร รวมทั้งกลัวความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น และสุดท้ายจะมีอาการเศร้าโศก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผลกระทบที่เกิดกับเด็กเจ็บป่วยที่มีอาการหมดสติ เป็นสิ่งที่พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และให้การดูแลเด็กที่อยู่ในภาวะหมดสติอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งให้ความสนใจและการดูแลต่อครอบครัวของเด็กที่หมดสติด้วยเช่นกัน
ระดับของความรู้สึกตัว (Level of Consciousness : LOC)
ระดับความรู้สึกตัว (LOC) เป็นดัชนีแรกที่แสดงให้เห็นถึงภาวะการทำงานของสมอง ซึ่งสามารถประเมินได้จากการสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองของเด็กต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถประเมินได้จากการเคลื่อนไหว (motor activities), reflexes และสัญญาณชีพ (vital signs) เป็นต้น ระดับของความรู้สึกตัว สามารถจำแนกได้ดังนี้ (Hockenberry, 2005)
1. ระดับความรู้สึกตัวดี (full consciousness) ผู้ป่วยจะตื่นและรู้สึกตัวดี การรับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ เป็นปกติ พฤติกรรมที่แสดงออกเหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. ความรู้สึกสับสน (confusion) ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสนและมีความผิดปกติเกี่ยวกับการตัดสินใจ
3. การรับรู้ผิดปกติ (disorientation) ผู้ป่วยไม่รับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ ระดับความรู้สึกตัวเริ่มลดลง
4. ระดับความรู้สึกง่วงงุน (lethargy / drowsy) ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย มีอาการง่วงงุน พูดช้าและสับสน เมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหรือปลุกผู้ป่วยจะสามารถโต้ตอบได้ตามปกติ แต่ถ้ากระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้วผู้ป่วยไม่สามารถโต้ตอบได้ เรียกว่า obtundation
5. ระดับความรู้สึก stupor ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หลับลึก แต่ยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่รุนแรงและกระตุ้นซ้ำๆ กันหลายครั้ง เช่น การเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียงครางเบาๆ โดยการตอบสนองที่เกิดขึ้นค่อนข้างช้า
6. ระดับหมดสติ (coma) ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถตอบสนองทั้งด้านการเคลื่อนไหวหรือทางวาจา ต่อสิ่งกระตุ้น (stimuli) ต่างๆ เช่น สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
การประเมินภาวะหมดสติ (Coma assessment)
การประเมินภาวะหมดสติ พยาบาลสามารถประเมินได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการใช้แบบประเมินภาวะหมดสติ
Glasgow Coma Scale (GCS) เป็นเครื่องมือหรือแบบประเมินที่นิยมใช้ในการประเมินภาวะหมดสติ โดยแบบประเมินประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การประเมินจากการลืมตา (eye opening) การตอบสนองทางวาจา (verbal response) และการเคลื่อนไหว (motor response) หลังจากที่เด็กได้รับการกระตุ้น โดยแบบประเมินนี้แบ่งเป็นแบบประเมินที่ใช้กับเด็กเล็กและเด็กโต สำหรับรายละเอียดของหัวข้อการประเมินสำหรับเด็กโตมีดังนี้
การลืมตา (eye opening) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 4 คะแนน)
- ลืมตาได้ตามปกติ 4 คะแนน
- ลืมตาเมื่อได้ยินเสียงพูด 3 คะแนน
- ลืมตาเมื่อได้รับการทำให้เจ็บปวด 2 คะแนน
- ไม่ลืมตาเมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การเคลื่อนไหว (motor response) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 6 คะแนน)
- เคลื่อนไหวได้ตามคำสั่ง 6 คะแนน
- เคลื่อนไหวได้เมื่อได้รับการทำให้เจ็บปวดเฉพาะที่ 5 คะแนน
- สามารถดึงมือหรือเท้าออกจากสิ่งที่ทำให้เจ็บปวด 4 คะแนน
- งอแขนหรือเท้าในท่าที่ผิดปกติ 3 คะแนน
- เหยียดแขนหรือขา 2 คะแนน
- ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การตอบสนองทางวาจา (verbal response) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 5 คะแนน)
- สามารถรับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ 5 คะแนน
- แสดงอาการสับสน 4 คะแนน
- พูดได้เป็นคำ แต่ไม่ค่อยรู้เรื่อง 3 คะแนน
- พูดไม่รู้เรื่อง 2 คะแนน
- ไม่มีอาการตอบสนอง เมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การแปลผล Glasgow Coma Scale ถ้าพบว่าหลังการประเมิน เด็กได้คะแนนเต็ม 15 คะแนน แสดงว่าเด็กรู้สึกตัวดี และหากได้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนลงมา แสดงว่าเด็กมีอาการหมดสติ และหากได้ 3 คะแนน แสดงว่ามีภาวะหมดสติระดับลึก (deep coma)
การประเมินภาวะสุขภาพเด็กในภาวะหมดสติ
หลังจากประเมินระดับของความรู้สึกตัว (LOC) ของเด็กโดยใช้ Glasgow Coma Scale แล้ว พบว่า เด็กป่วยอยู่ในภาวะหมดสติ พยาบาลจำเป็นต้องทำการประเมินภาวะสุขภาพ (nursing assessment) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาล เพื่อนำไปสู่การกำหนดการวินิจฉัยทางการพยาบาลสำหรับเด็กป่วยในภาวะหมดสติ สิ่งที่พยาบาลควรประเมินในการตรวจร่างกาย ได้แก่
1. สัญญาณชีพ (vital signs) ประกอบด้วย อุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร อัตราและลักษณะของการหายใจ และความดันโลหิต
2. ผิวหนัง (skin) ควรตรวจสอบเกี่ยวกับ สีผิวหนัง รอยโรค เช่น แผลหรือรอยช้ำที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือรอยกัดของสัตว์ประเภทต่างๆ หรือจุดจ้ำเลือดต่างๆ เป็นต้น
3. การตรวจตา สิ่งสำคัญในการตรวจตาได้แก่
ขนาดของรูม่านตาและปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา
- ถ้าขนาดของรูม่านตาเล็กเท่าหัวเข็มหมุด (pinpoint) ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่ได้รับสารพิษ เช่น ยากลุ่ม barbiturate เป็นต้น
- ถ้ารูม่านตาขยายกว้างแต่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจพบในเด็กหลังเกิดการชัก
- ถ้ารูม่านตาขยายกว้างแต่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจพบในเด็กที่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจน (anoxia) หรือภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำ (hypothermia) หรือใช้ยาขยายรูม่านตา เป็นต้น
- ถ้ารูม่านตาขยายมากกว่า 5 มม. ทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาจมีการทำลายของเนื้อสมองบริเวณ brainstem
ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของลูกตา (eye movement)
ตรวจสอบภายในลูกตา (funduscopic examination) โดยใช้เครื่องมือ ophthalmo –scope จะพบ papilledema โดยมีลักษณะ optic disk บวม ทำให้มองเห็นขอบเขตของ optic disk ไม่ชัดเจน มีเลือดออก หรือมีหลอดเลือดขดงอ ทั้งนี้จะพบในเด็กที่มีภาวะหมดสติแล้ว 24 – 48 ชั่วโมง
4. การเคลื่อนไหว (motor function)
สังเกตการเคลื่อนไหว หรือท่านอน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
สังเกตการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทั้ง 2 ข้าง เท่ากันหรือไม่
นอกจากนี้ในเด็กที่อยู่ในภาวะหมดสติแบบลึก (deep coma) จะพบว่าร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และกล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ทั้งนี้ความสามารถในการเคลื่อน ไหวของเด็กในภาวะหมดสติ จะขึ้นกับระดับหรือความรุนแรงของการไม่รู้สึกตัว
5. ท่าทาง (posturing) ของเด็กในภาวะหมดสติ
Decorticate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย งอแขนทั้ง 2 ข้าง เข้าหาตัว ในระดับไหล่ กำมือแน่นและงอข้อมือทั้ง 2 ข้าง ส่วนขาทั้ง 2 ข้าง เหยียดปลายเท้าออก และงอปลายเท้าเข้าหากัน โดยท่านอนแบบนี้จะพบในเด็กหมดสติที่มีการทำลายของเนื้อสมองส่วน cerebral cortex อย่างรุนแรง
Decerebrate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย แขนทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและคว่ำแขนลงโดยบิดข้อมือออกด้านข้าง ขาทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและแยกออกจากกัน ท่านอนแบบนี้จะพบในเด็กหมดสติที่สมองส่วน Midbrain ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
6. ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexes)
ในช่วงหมดสติระดับลึก (deep coma) จะพบว่า reflexes ต่างๆ ของเด็กจะหายไป
7. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นส่วนที่ทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เด็กหมดสติได้ เช่น Blood glucose, Urea nitrogen, Electrolytes รวมทั้งผลการตรวจเลือด เช่น Complete Blood Count (CBC), การนำตัวอย่างเลือดไปเพาะหาเชื้อ (hemoculture) ตลอดจนผลการตรวจการทำหน้าที่ของตับ (liver function test) นอกจากนี้การตรวจพิเศษที่นิยมตรวจในเด็กที่หมดสติ ได้แก่ การเจาะหลัง (lumber puncture) การตรวจคลื่นไฟฟ้าของสมอง (EEG) หรือการตรวจสมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ
พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ ซึ่งเด็กต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พยาบาลต้องมีทักษะในการสังเกต เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างลึกซึ้ง สำหรับเป้าหมายในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ ได้แก่
1. ผู้ป่วยเด็กต้องได้รับการดูแลระบบหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้ป่วยเด็กต้องไม่มีแรงดันภายในสมองเพิ่มขึ้น
3. ผู้ป่วยเด็กต้องได้รับการดูแลขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร การขับถ่าย และการมีภาวะสุขวิทยาส่วนบุคคล (personal hygiene) ที่ดี
4. ผู้ป่วยเด็กต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
5. ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องได้รับความรู้และคำแนะนำ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยและภาวะหมดสติ และได้รับการสนับสนุนประคับประคองด้านจิตใจอย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย
1. เป้าหมาย : การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
- ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก เพราะเด็กอาจสำลักได้
- ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
- เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ จะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันที
2. เป้าหมาย : แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
- หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะทำให้แรงดันภายในสมองเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ (neck vein) การก้มคอหรือแหงนหน้าไปด้านหลังอย่างเต็มที่ การหมุนศีรษะไปมา การกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด และการดูดเสมหะ เป็นต้น
- ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
- ถ้าพบว่า เด็กแสดงอาการเจ็บปวด เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง พยาบาลควรดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
- วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
- ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง
3. เป้าหมาย : เด็กในภาวะหมดสติ ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
ด้านอาหาร
- ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล
- ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
- บันทึกปริมาณน้ำดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
- ควรชั่งน้ำหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านการขับถ่าย
- ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
- ถ้าเด็กมีสายสวนปัสสาวะ พยาบาลควรดูแลความสะอาดให้เพียงพอ
- ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
- เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
- ประเมินบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบว่ากระเพาะปัสสาวะตึงหรือไม่
- ดูแลให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
- อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
- เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก เพื่อความสะอาดและความรู้สึกสบาย
- สระผมให้เด็กบ่อยๆ เพื่อให้ผมสะอาด
- ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บ อย่างสม่ำเสมอ
4. เป้าหมาย : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
- หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก 2 ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาความดันในสมองสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอักเสบ เป็นต้น
- ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ เข้าไปใกล้ชิดเด็ก
- ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
- สังเกตและประเมินอาการที่บ่งชี้ว่า จะมีการระคายเคืองหรือการอักเสบของตา
- อาจต้องใช้ผ้าปิดตา (eye pad) เพื่อไม่ให้ตาแห้ง
- ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้ำตาเทียม (artificial tears) หยอด
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
- ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติของผิวหนังหรือไม่
- หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับ
- ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ศีรษะส่วนท้ายทอย แนวกระดูกสันหลัง ส้นเท้า เป็นต้น
- ควรทาครีมบำรุงผิวหนัง (lotion) และนวดผิวหนังทุกวันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ดูแลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ฝีเย็บ (perineum) และทวารหนักให้สะอาด โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายทุกครั้ง
5. เป้าหมาย : ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องได้รับความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
และภาวะหมดสติ
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- ประเมินความต้องการข้อมูลของครอบครัว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย เพื่อเป็นแนวทางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว
- รับฟังปัญหาของครอบครัวอย่างตั้งใจ และอดทน
- ตอบคำถามที่ครอบครัวต้องการทราบอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือที่ครอบครัวต้องการ รวมทั้งช่วยประสานงานในส่วนที่สามารถดำเนินการให้ได้
- ให้กำลังใจและประคับประคองด้านจิตใจแก่ครอบครัว เพื่อให้ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
จะเห็นได้ว่า พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กที่หมดสติ และครอบครัว โดยที่เป้าหมายเพื่อให้เด็กที่หมดสติสามารถอยู่รอด โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิต ที่ดี พยาบาลที่ให้การดูแลเด็กในภาวะหมดสติต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญเกี่ยวกับอาการของเด็กในภาวะหมดสติอย่างดี และมีทักษะในการดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
โดย รองศาสตราจารย์รัชนี สีดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารอ้างอิง
1. Ball, J. and Bindler, R. (1995). Pediatric Nursing : caring for children. Connecticut : Appleton & Lange ; 433.
2. Hockenberry, M. (2005). Wong’s Essentials of Pediatric Nursing. St. Louis : Mosby ; 1013.
Nursing Care of the Comatose Child
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อสิ้นสุดการเรียนผู้เรียนจะสามารถ
1. อธิบายระดับของความรู้สึกตัวของเด็กได้ถูกต้อง
2. บอกเกณฑ์การประเมินภาวะหมดสติในเด็กได้ถูกต้อง
3. อธิบายแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพเด็กที่มีภาวะหมดสติได้
4. ระบุเป้าหมายและแนวทางการพยาบาลเด็กในภาวะหมดสติได้ถูกต้องและเหมาะสม
เมื่อเด็กเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต หรือเรื้อรัง ปัญหาที่คุกคามต่อชีวิตของเด็กที่พบบ่อยประการหนึ่งคือ ภาวะไม่รู้สึกตัว (unconscious state) ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการการรักษาและการพยาบาลอย่างใกล้ชิด อาการหมดสติ (coma) เป็นระดับความไม่รู้สึกตัวระดับหนึ่งซึ่งเด็กป่วยจะไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะรุนแรงหรือก่อให้ เกิดความเจ็บปวดก็ตาม (Ball and Bindler, 1995 ; Hockenberry, 2005) เมื่อเด็กมีอาการหมดสติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม จะมีผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง เช่น อาจมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ มีความผิดปกติของระบบผิวหนัง รวมทั้งไม่สามารถรับประทานอาหารและขับถ่ายเองได้ เป็นต้น ส่วนผลกระทบต่อครอบครัว โดยเฉพาะบิดามารดาของผู้ป่วยที่หมดสติ จะรู้สึกตกใจ กลัว และวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของบุตร บางครั้งอาจแสดงออกโดยแสดงอาการไม่เชื่อในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุตร รู้สึกกลัวการแยกจากบุตร รวมทั้งกลัวความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น และสุดท้ายจะมีอาการเศร้าโศก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผลกระทบที่เกิดกับเด็กเจ็บป่วยที่มีอาการหมดสติ เป็นสิ่งที่พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และให้การดูแลเด็กที่อยู่ในภาวะหมดสติอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งให้ความสนใจและการดูแลต่อครอบครัวของเด็กที่หมดสติด้วยเช่นกัน
ระดับของความรู้สึกตัว (Level of Consciousness : LOC)
ระดับความรู้สึกตัว (LOC) เป็นดัชนีแรกที่แสดงให้เห็นถึงภาวะการทำงานของสมอง ซึ่งสามารถประเมินได้จากการสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองของเด็กต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถประเมินได้จากการเคลื่อนไหว (motor activities), reflexes และสัญญาณชีพ (vital signs) เป็นต้น ระดับของความรู้สึกตัว สามารถจำแนกได้ดังนี้ (Hockenberry, 2005)
1. ระดับความรู้สึกตัวดี (full consciousness) ผู้ป่วยจะตื่นและรู้สึกตัวดี การรับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ เป็นปกติ พฤติกรรมที่แสดงออกเหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. ความรู้สึกสับสน (confusion) ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสนและมีความผิดปกติเกี่ยวกับการตัดสินใจ
3. การรับรู้ผิดปกติ (disorientation) ผู้ป่วยไม่รับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ ระดับความรู้สึกตัวเริ่มลดลง
4. ระดับความรู้สึกง่วงงุน (lethargy / drowsy) ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย มีอาการง่วงงุน พูดช้าและสับสน เมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหรือปลุกผู้ป่วยจะสามารถโต้ตอบได้ตามปกติ แต่ถ้ากระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้วผู้ป่วยไม่สามารถโต้ตอบได้ เรียกว่า obtundation
5. ระดับความรู้สึก stupor ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หลับลึก แต่ยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่รุนแรงและกระตุ้นซ้ำๆ กันหลายครั้ง เช่น การเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียงครางเบาๆ โดยการตอบสนองที่เกิดขึ้นค่อนข้างช้า
6. ระดับหมดสติ (coma) ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถตอบสนองทั้งด้านการเคลื่อนไหวหรือทางวาจา ต่อสิ่งกระตุ้น (stimuli) ต่างๆ เช่น สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
การประเมินภาวะหมดสติ (Coma assessment)
การประเมินภาวะหมดสติ พยาบาลสามารถประเมินได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการใช้แบบประเมินภาวะหมดสติ
Glasgow Coma Scale (GCS) เป็นเครื่องมือหรือแบบประเมินที่นิยมใช้ในการประเมินภาวะหมดสติ โดยแบบประเมินประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การประเมินจากการลืมตา (eye opening) การตอบสนองทางวาจา (verbal response) และการเคลื่อนไหว (motor response) หลังจากที่เด็กได้รับการกระตุ้น โดยแบบประเมินนี้แบ่งเป็นแบบประเมินที่ใช้กับเด็กเล็กและเด็กโต สำหรับรายละเอียดของหัวข้อการประเมินสำหรับเด็กโตมีดังนี้
การลืมตา (eye opening) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 4 คะแนน)
- ลืมตาได้ตามปกติ 4 คะแนน
- ลืมตาเมื่อได้ยินเสียงพูด 3 คะแนน
- ลืมตาเมื่อได้รับการทำให้เจ็บปวด 2 คะแนน
- ไม่ลืมตาเมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การเคลื่อนไหว (motor response) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 6 คะแนน)
- เคลื่อนไหวได้ตามคำสั่ง 6 คะแนน
- เคลื่อนไหวได้เมื่อได้รับการทำให้เจ็บปวดเฉพาะที่ 5 คะแนน
- สามารถดึงมือหรือเท้าออกจากสิ่งที่ทำให้เจ็บปวด 4 คะแนน
- งอแขนหรือเท้าในท่าที่ผิดปกติ 3 คะแนน
- เหยียดแขนหรือขา 2 คะแนน
- ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การตอบสนองทางวาจา (verbal response) เมื่อได้รับการกระตุ้น (1 – 5 คะแนน)
- สามารถรับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ 5 คะแนน
- แสดงอาการสับสน 4 คะแนน
- พูดได้เป็นคำ แต่ไม่ค่อยรู้เรื่อง 3 คะแนน
- พูดไม่รู้เรื่อง 2 คะแนน
- ไม่มีอาการตอบสนอง เมื่อได้รับการกระตุ้น 1 คะแนน
การแปลผล Glasgow Coma Scale ถ้าพบว่าหลังการประเมิน เด็กได้คะแนนเต็ม 15 คะแนน แสดงว่าเด็กรู้สึกตัวดี และหากได้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนลงมา แสดงว่าเด็กมีอาการหมดสติ และหากได้ 3 คะแนน แสดงว่ามีภาวะหมดสติระดับลึก (deep coma)
การประเมินภาวะสุขภาพเด็กในภาวะหมดสติ
หลังจากประเมินระดับของความรู้สึกตัว (LOC) ของเด็กโดยใช้ Glasgow Coma Scale แล้ว พบว่า เด็กป่วยอยู่ในภาวะหมดสติ พยาบาลจำเป็นต้องทำการประเมินภาวะสุขภาพ (nursing assessment) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาล เพื่อนำไปสู่การกำหนดการวินิจฉัยทางการพยาบาลสำหรับเด็กป่วยในภาวะหมดสติ สิ่งที่พยาบาลควรประเมินในการตรวจร่างกาย ได้แก่
1. สัญญาณชีพ (vital signs) ประกอบด้วย อุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร อัตราและลักษณะของการหายใจ และความดันโลหิต
2. ผิวหนัง (skin) ควรตรวจสอบเกี่ยวกับ สีผิวหนัง รอยโรค เช่น แผลหรือรอยช้ำที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือรอยกัดของสัตว์ประเภทต่างๆ หรือจุดจ้ำเลือดต่างๆ เป็นต้น
3. การตรวจตา สิ่งสำคัญในการตรวจตาได้แก่
ขนาดของรูม่านตาและปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา
- ถ้าขนาดของรูม่านตาเล็กเท่าหัวเข็มหมุด (pinpoint) ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่ได้รับสารพิษ เช่น ยากลุ่ม barbiturate เป็นต้น
- ถ้ารูม่านตาขยายกว้างแต่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจพบในเด็กหลังเกิดการชัก
- ถ้ารูม่านตาขยายกว้างแต่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจพบในเด็กที่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจน (anoxia) หรือภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำ (hypothermia) หรือใช้ยาขยายรูม่านตา เป็นต้น
- ถ้ารูม่านตาขยายมากกว่า 5 มม. ทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาจมีการทำลายของเนื้อสมองบริเวณ brainstem
ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของลูกตา (eye movement)
ตรวจสอบภายในลูกตา (funduscopic examination) โดยใช้เครื่องมือ ophthalmo –scope จะพบ papilledema โดยมีลักษณะ optic disk บวม ทำให้มองเห็นขอบเขตของ optic disk ไม่ชัดเจน มีเลือดออก หรือมีหลอดเลือดขดงอ ทั้งนี้จะพบในเด็กที่มีภาวะหมดสติแล้ว 24 – 48 ชั่วโมง
4. การเคลื่อนไหว (motor function)
สังเกตการเคลื่อนไหว หรือท่านอน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
สังเกตการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทั้ง 2 ข้าง เท่ากันหรือไม่
นอกจากนี้ในเด็กที่อยู่ในภาวะหมดสติแบบลึก (deep coma) จะพบว่าร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และกล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ทั้งนี้ความสามารถในการเคลื่อน ไหวของเด็กในภาวะหมดสติ จะขึ้นกับระดับหรือความรุนแรงของการไม่รู้สึกตัว
5. ท่าทาง (posturing) ของเด็กในภาวะหมดสติ
Decorticate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย งอแขนทั้ง 2 ข้าง เข้าหาตัว ในระดับไหล่ กำมือแน่นและงอข้อมือทั้ง 2 ข้าง ส่วนขาทั้ง 2 ข้าง เหยียดปลายเท้าออก และงอปลายเท้าเข้าหากัน โดยท่านอนแบบนี้จะพบในเด็กหมดสติที่มีการทำลายของเนื้อสมองส่วน cerebral cortex อย่างรุนแรง
Decerebrate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย แขนทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและคว่ำแขนลงโดยบิดข้อมือออกด้านข้าง ขาทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและแยกออกจากกัน ท่านอนแบบนี้จะพบในเด็กหมดสติที่สมองส่วน Midbrain ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
6. ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexes)
ในช่วงหมดสติระดับลึก (deep coma) จะพบว่า reflexes ต่างๆ ของเด็กจะหายไป
7. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นส่วนที่ทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เด็กหมดสติได้ เช่น Blood glucose, Urea nitrogen, Electrolytes รวมทั้งผลการตรวจเลือด เช่น Complete Blood Count (CBC), การนำตัวอย่างเลือดไปเพาะหาเชื้อ (hemoculture) ตลอดจนผลการตรวจการทำหน้าที่ของตับ (liver function test) นอกจากนี้การตรวจพิเศษที่นิยมตรวจในเด็กที่หมดสติ ได้แก่ การเจาะหลัง (lumber puncture) การตรวจคลื่นไฟฟ้าของสมอง (EEG) หรือการตรวจสมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ
พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ ซึ่งเด็กต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พยาบาลต้องมีทักษะในการสังเกต เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างลึกซึ้ง สำหรับเป้าหมายในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ ได้แก่
1. ผู้ป่วยเด็กต้องได้รับการดูแลระบบหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้ป่วยเด็กต้องไม่มีแรงดันภายในสมองเพิ่มขึ้น
3. ผู้ป่วยเด็กต้องได้รับการดูแลขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร การขับถ่าย และการมีภาวะสุขวิทยาส่วนบุคคล (personal hygiene) ที่ดี
4. ผู้ป่วยเด็กต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
5. ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องได้รับความรู้และคำแนะนำ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยและภาวะหมดสติ และได้รับการสนับสนุนประคับประคองด้านจิตใจอย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กในภาวะหมดสติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย
1. เป้าหมาย : การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
- ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก เพราะเด็กอาจสำลักได้
- ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
- เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ จะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันที
2. เป้าหมาย : แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
- หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะทำให้แรงดันภายในสมองเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ (neck vein) การก้มคอหรือแหงนหน้าไปด้านหลังอย่างเต็มที่ การหมุนศีรษะไปมา การกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด และการดูดเสมหะ เป็นต้น
- ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
- ถ้าพบว่า เด็กแสดงอาการเจ็บปวด เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง พยาบาลควรดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
- วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
- ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง
3. เป้าหมาย : เด็กในภาวะหมดสติ ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
ด้านอาหาร
- ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล
- ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
- บันทึกปริมาณน้ำดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
- ควรชั่งน้ำหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านการขับถ่าย
- ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
- ถ้าเด็กมีสายสวนปัสสาวะ พยาบาลควรดูแลความสะอาดให้เพียงพอ
- ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
- เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
- ประเมินบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบว่ากระเพาะปัสสาวะตึงหรือไม่
- ดูแลให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
- อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
- เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก เพื่อความสะอาดและความรู้สึกสบาย
- สระผมให้เด็กบ่อยๆ เพื่อให้ผมสะอาด
- ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บ อย่างสม่ำเสมอ
4. เป้าหมาย : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
- หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก 2 ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาความดันในสมองสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอักเสบ เป็นต้น
- ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ เข้าไปใกล้ชิดเด็ก
- ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
- สังเกตและประเมินอาการที่บ่งชี้ว่า จะมีการระคายเคืองหรือการอักเสบของตา
- อาจต้องใช้ผ้าปิดตา (eye pad) เพื่อไม่ให้ตาแห้ง
- ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้ำตาเทียม (artificial tears) หยอด
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
- ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติของผิวหนังหรือไม่
- หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับ
- ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ศีรษะส่วนท้ายทอย แนวกระดูกสันหลัง ส้นเท้า เป็นต้น
- ควรทาครีมบำรุงผิวหนัง (lotion) และนวดผิวหนังทุกวันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ดูแลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ฝีเย็บ (perineum) และทวารหนักให้สะอาด โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายทุกครั้ง
5. เป้าหมาย : ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องได้รับความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
และภาวะหมดสติ
กิจกรรมการพยาบาล ได้แก่
- ประเมินความต้องการข้อมูลของครอบครัว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย เพื่อเป็นแนวทางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว
- รับฟังปัญหาของครอบครัวอย่างตั้งใจ และอดทน
- ตอบคำถามที่ครอบครัวต้องการทราบอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือที่ครอบครัวต้องการ รวมทั้งช่วยประสานงานในส่วนที่สามารถดำเนินการให้ได้
- ให้กำลังใจและประคับประคองด้านจิตใจแก่ครอบครัว เพื่อให้ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
จะเห็นได้ว่า พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กที่หมดสติ และครอบครัว โดยที่เป้าหมายเพื่อให้เด็กที่หมดสติสามารถอยู่รอด โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิต ที่ดี พยาบาลที่ให้การดูแลเด็กในภาวะหมดสติต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญเกี่ยวกับอาการของเด็กในภาวะหมดสติอย่างดี และมีทักษะในการดูแลเด็กในภาวะหมดสติอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
โดย รองศาสตราจารย์รัชนี สีดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารอ้างอิง
1. Ball, J. and Bindler, R. (1995). Pediatric Nursing : caring for children. Connecticut : Appleton & Lange ; 433.
2. Hockenberry, M. (2005). Wong’s Essentials of Pediatric Nursing. St. Louis : Mosby ; 1013.
สอนลูกรู้จักเลือก-รู้จักกิน หลอมเด็กไทยสุขภาพดี
คงจะปฏิเสธว่า "เด็กไทย" มีร่างกายไม่ส่วน บ้างก็อ้วนเกินไป บ้างก็ผอมเกินไป นั่นเป็นเพราะเลือกอาหารไม่เป็น และไม่เข้าใจหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ทำให้ส่วนใหญ่เลือกกินอาหารแค่บางหมู่ และกินอาหารที่หวาน มัน และเค็ม แต่กินผักและผลไม้ลดลง รวมทั้งไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้เกิดการสะสมของพลังงานส่วนเกินในรูปของไขมัน นำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนในที่สุด ปัญหาข้างต้น เป็นประเด็นถกเถียงกันหลายเวที เช่นเดียวกับงานเสวนา “ฉลาดกินกับวัยซน” ที่เนสท์เล่จัดร่วมกับกรมอนามัย ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา “อ।สง่า ดามาพงษ์” นักวิชาการสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กรมอนามัย และโฆษกกระทรวงสาธาณสุข บอกว่า ทุกวันนี้ผู้ใหญ่จะไปโทษฟาสต์ฟู้ดต่างชาติอย่างเดียวก็ไม่ถูก เพราะฟาสต์ฟู้ดไทยก็ใช่ย่อย เนื่องจากพ่อแม่ยุคใหม่ไม่ชอบทำกับข้าวหรือเตรียมอาหารให้กับลูก ทำให้เด็กหันมากินข้าวเหนียวหมูปิ้ง ไก่ย่างหรือไก่ทอดกันมากขึ้น โอกาสที่จะกินผักจึงมีน้อยมาก ทำให้เด็กไม่กินชินกับผัก หรืออีกส่วนอาจมาจากการตั้งโต๊ะอาหารภายในบ้านที่ขาดสีสันของผัก รวมถึงเมนูที่ทำ ไม่ค่อยมีผักเท่าที่ควร เด็กจึงไม่ชินกับผัก และไม่ชอบกินผักในที่สุด "ก่อนจะบอกให้ลูกกินผัก หรืออาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ใช่บอกว่า ลูกต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่นะลูก แต่ควรอธิบายให้ลูกฟังด้วยว่า เมื่อกินก๋วยเตี๋ยวแล้ว ลูกจะได้สารอาหารประเภทไหนบ้าง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยวให้แป้งหรือคาร์โบไฮเดรตนะลูก ถั่วงอก หรือผักใบเขียวที่มากับก๋วยเตี๋ยวให้วิตามิน แถมช่วยให้การขับถ่ายของเราดีขึ้นด้วย หรือไขมันได้มากจากไหน นี่ไง กระเทียมเจียว ซึ่งต้องสอนลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพราะเป็นช่วงที่ได้ผลที่สุด เพื่อที่เขาโตขึ้น จะได้ฉลาดเลือก และฉลาดกิน” อ।สง่าบอก นอกจากนี้ ตามที่องค์การอนามัยโลกระบุ เด็กไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน แต่ทุกวันนี้ อ.สง่าบอกว่า เด็กไทยกินน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 20 ช้อนชาต่อวัน เพิ่มขึ้น 3 เท่า ซึ่งน้ำอัดลม 1 กระป๋องก็มีน้ำตาล 6 ช้อนชาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เด็กจึงได้แต่พลังงาน ไม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เกิดการสะสม และเกิดภาวะโรคอ้วน และเป็นเด็กขาดสารอาหารในที่สุด
ขณะที่ยังมีผลวิจัยที่น่าตกใจออกมาอีกว่า เด็กอ้วนมีประสิทธิภาพการเรียนด้อยกว่าเด็กที่มีร่างกายปกติอย่างชัดเจน เนื่องจากหิวบ่อย ขาดสมาธิในการเรียน โดยเฉพาะเด็กอ้วนในช่วงประถมต้น ถ้าไม่ลดน้ำหนัก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะมีร่างอ้วนถึงร้อยละ 30 และที่หนักกว่านี้คือ ถ้าเลยไปถึงช่วงมหาวิทยาลัย จะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 ดังนั้นพ่อแม่ที่มีลูก ควรสอนให้ลูกอ่านข้อมูลทางโภชนาการที่ระบุมากับกล่องนม หรือถุงขนมทุกครั้ง เพื่อที่ลูกจะได้เคยชินกับการสังเกตคุณค่าทางอาหาร และเลือกกินได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี การส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กมีโภชนาการที่เหมาะสมนั้น อ।สง่าบอกว่า สามารถทำได้คือ เสริมให้เด็กกินอาหารว่างวันละ 2 มื้อ เน้นอาหารว่างในช่วงบ่าย เพราะจะช่วยพัฒนาทักษะความจำ และสร้างความพร้อมในการเรียนให้เด็กได้มากขึ้น ซึ่งอาหารว่างที่ดี ควรให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน นั่นคือ ไม่เกินมื้อละ 150 กิโลแคลอรี่ ซึ่งอาหารว่างที่ดีคือ นมจืด และผลไม้เป็นหลัก
สอดรับกับคุณแม่ลูกสามแต่ยังแจ๋วอย่าง “ปิ่น-เก็จมณี วรรธนะสิน” หรือ “คุณแม่ปิ่น” ได้เผยเคล็ดลับในการเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมให้กับ “เจ้านาย เจ้าขุน และเจ้าสมุทร” ว่า เธอจะดูแลเรื่องอาหารที่ลูกทานเองทั้งหมด และมักจะสอนลูกตั้งแต่เล็กในการกินอาหารที่เหมาะสม และไม่ทำลายร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นของมัน หรือของทอด ขนมถุง โดยเฉพาะน้ำอัดลม ซึ่งเธอจะไม่ให้ลูกกินเลย รวมไปถึงอาหาร หรือขนมที่มีสีสันฉูดฉาด ที่น้อยครั้งมากที่เธอจะให้ลูกกิน เพราะอาจได้รับสีผสมอาหารที่เกินค่ามาตรฐาน หรืออาจเจอสีสังเคราะห์ ที่ทำให้ลูกเสี่ยงต่อการเป็นเด็กไฮเปอร์ได้ ที่สำคัญเรื่องของการกินผัก เธอจะให้ลูกสัมผัสกับผักตั้งแต่ฟันเพิ่งเริ่มขึ้น ขณะเดี่ยวกัน เวลาที่ตั้งโต๊ะอาหารก็จะมีการตกแต่งจานข้าวของลูกให้ดูน่าทาน โดยมีผักเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ลูกทุกคนไม่ปฏิเสธที่จะกินผักเลย เมื่อถามถึงวิธีการเลี้ยงลูก คุณแม่ปิ่น บอกว่า เธอใช้วิธีเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่เลี้ยงแบบเป็นคุณชายมากเกินไป ซึ่งจะสอนให้คิดและทำอะไรเองเป็น ที่สำคัญเธอต้องใช้ความอดทน และความเป็นแม่ในการเลี้ยงดูลูกสูงมาก ต้องเข้าใจลักษณะนิสัยของลูกแต่ละคน และจะให้เวลากับลูกอย่างเต็มที่ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เธอหายไปจากวงการช่วงหนึ่ง เพราะต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก แต่ตอนนี้ลูกบางคนเข้าโรงเรียนไปบางส่วนแล้ว เธอจึงมีเวลาเล่นละครมากขึ้น แต่ถึงแม้ว่าจะมีงาน ทุกเย็นหลังเลิกเรียน เธอจะสอนการบ้านลูกเองตลอด และจะเน้นเรื่องออกกำลังกาย เพราะที่บ้านเป็นครอบครัวนักกีฬา ซึ่งคุณพ่อเจ และตัวเธอเองจะเป็นแกนนำ ลูกจึงเล่นกีฬาได้หลายอย่างมาก ถึงแม้จะมีเวทีเสวนาเรื่องการบริโภคไม่ถูกต้องมาหลายเวที ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบ้าง ไม่เข้าถึงบ้าง ทำให้ปัญหาที่เกิดจากการกินยังดูเหมือนคงที่อยู่ ดังนั้น ทางบริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จึงได้จับมือกับกรมอนามัย จัดทำสื่อในรูปแบบ Edutainment ถ่ายทอดสาระความรู้ด้านสุขภาพ และโภชนาการที่เข้าใจง่าย ผ่านภาพยนตร์การ์ตูนแอนนิเมชั่น “ฉลาดกินกับวัยซน” ซึ่งออกอากาศทางช่อง 7 ทุกเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18।00 น. เพื่อช่วยให้พ่อแม่ยุคใหม่สามารถสอนลูกในวัยกิน และวัยเรียนได้อย่างเหมะสม เชื่อมสัมพันธ์พ่อแม่ลูกได้เป็นอย่างดี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 วิธี ช่วยจัดการเด็กในสมาธิสั้น สำหรับพ่อแม่
1. ตั้งนาฬิกา-ตั้งเวลา :
ลองใช้นาฬิกาเตือนตามเวลาที่เป็นจริง เช่น เตือนเมื่อถึงเวลาทำงาน เตือนเมื่อหมดเวลาเล่น หรือไม่ก็หานาฬิกาเรือนโตๆ มาให้เด็กเห็นได้ชัดๆ จะช่วยเด็กให้กะประมาณเวลาได้ดีขึ้น
2. ชมแบบปืนไว :
หัดเป็นคนพูดชมสั้นๆ หรือตบไหล่ตบหลังทำนองชื่นชมเด็กทันทีที่เด็กเขาปฏิบัติตัวตามที่เราคาดหวัง ยิ่งเร็วยิ่งทำให้เด็กภูมิใจอยากทำอีก หัดเป็นเสือปืนไวครับ
3. ชม ชม และชม :
ทำให้เด็กซนสมาธิสั้นเหล่านี้รู้ให้ได้ว่า อะไรที่เราอยากให้เป็น โดยการชมเด็กเหล่านี้ ต้องการคำชมบ่อยกว่าเด็กทั่วไป เพื่อช่วยนำเขาให้ประพฤติถูกทางไปเรื่อยๆ จนทำงานได้ผลสำเร็จ หน้าที่ของพ่อแม่คือ ชมเชยเขาเมื่อทำถูกทางแล้วนั่นเอง
4. ทำตัวเป็นเครื่องจักรจ่ายรางวัลง่ายๆ :
เด็กพวกนี้ต้องการรางวัลที่จับต้องได้มากกว่าคำชมลอยๆ แต่รางวัลก็จะต้องทำให้ดูสำคัญสำหรับเขา นั่นคือคุณเองก็ต้องเป็นคนสำคัญของเขาเช่นกัน ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเมื่ออยู่ด้วยกัน เมื่อได้รางวัลเล็กๆน้อยๆเขาจะดีใจและพยายามทำตัวดีขึ้น
5. เปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ ให้ดูสนุก :
วิธีนี้จะช่วยให้เด็กไม่เบื่อกับรางวัลเกินไป และจะคงพฤติกรรมดีๆไว้ได้ ลองให้เขาช่วยคิดตั้งรางวัลให้ตัวเองดู (แน่นอน ในขอบเขตที่เป็นไปได้) ทำให้ดูว่าเป็น เรื่องไม่จำเจ แม้จะให้เขาประพฤติตัวแบบเดิม
6. ลงมือ อย่าเอาแต่เหน็บหรือประชด :
เด็กซนสมาธิสั้นมีปัญหาที่การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ความไม่เข้าใจ ดังนั้นยิ่งคุณพูดมาก อธิบายยาว หรือเหน็บแนมประชดประชันมากเท่าไร จะยิ่งทำให้เด็กทำงานเสร็จช้าลงเท่านั้น พยายามทำแค่เตือนสั้นๆ ให้รางวัลง่ายๆบ่อยๆแบบที่บอกข้างต้น โดยลดความจู้จี้ ย้ำซ้ำ และคำพูดไม่น่าฟังลง
7. แสดงออกในทางบวก :
บอกสิ่งที่เราอยากให้เด็กทำในทางบวก คิดให้ชัดเสียก่อนว่าเราอยากให้ทำอย่างไร แล้วบอกให้เขารู้ โดยมีรางวัลกระตุ้นความอยากบ้าง อย่าลืมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกันไว้ พอเริ่มทำไปได้สัก 2 อาทิตย์ อาจมาปรึกษาหมอหรือครูที่ปรึกษาดูว่า ถ้าเด็กทำพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการ ว่าทำอย่างไร การลงโทษจะได้ผลแค่ช่วงต้นๆ แต่มักล้มเหลวที่จะให้เขาทำดีในระยะยาว
8. จงเตรียมพร้อม :
อย่างที่คุณรู้ เด็กพวกนี้มีปัญหาในเรื่องเก่าๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าเอาแต่เบื่อล่วงหน้า เตรียมตัวไว้ก่อนว่า เราจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอย่างไร ก่อนที่เด็กจะไปสถานการณ์เดิมๆอีก ควรทำดังนี้
ทวนข้อตกลงที่มี (ถ้ามี) 2-3 ข้อไว้ เด็กฟังแล้วให้เด็กพูดซ้ำ
ตั้งรางวัลหรือชมเชยเด็กเล็กๆน้อยๆทันทีที่เด็กทำตาม
ตั้งการลงโทษไว้ด้วยถ้าเด็กผิดข้อตกลง
พอเข้าสถานการณ์จริง สร้างความสัมพันธ์กับเด็กให้ดีตลอดที่เขาทำดี
ให้รางวัลหรือลงโทษทันทีที่พฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีนั่นๆเกิดขึ้น
ทวนข้อตกลงที่มี (ถ้ามี) 2-3 ข้อไว้ เด็กฟังแล้วให้เด็กพูดซ้ำ
ตั้งรางวัลหรือชมเชยเด็กเล็กๆน้อยๆทันทีที่เด็กทำตาม
ตั้งการลงโทษไว้ด้วยถ้าเด็กผิดข้อตกลง
พอเข้าสถานการณ์จริง สร้างความสัมพันธ์กับเด็กให้ดีตลอดที่เขาทำดี
ให้รางวัลหรือลงโทษทันทีที่พฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีนั่นๆเกิดขึ้น
9. จำเสมอว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น :
โรคซนสมาธิสั้นทำให้เด็กหยุดตัวเองได้ยากขึ้น บางคนหยุดไม่ได้
เลยถ้าไม่มีคนหยุดให้หรือช่วยฝึกวิธีหยุดให้เขา แน่นอนโรคนี้สร้างปัญหาทั้งกับที่บ้าน, โรงเรียน หรือ
ทุกที่ที่ต้องการให้เขาหยุดพฤติกรรม ความที่ “ห้ามล้อ” เขาเสียจะให้คนดูเขาว่า เป็นเด็กที่คุมตัวเอง
ไม่เป็น ไม่รักษาเวลา บางคนจะดูเหมือนเด็กกว่าเพื่อนๆ
เลยถ้าไม่มีคนหยุดให้หรือช่วยฝึกวิธีหยุดให้เขา แน่นอนโรคนี้สร้างปัญหาทั้งกับที่บ้าน, โรงเรียน หรือ
ทุกที่ที่ต้องการให้เขาหยุดพฤติกรรม ความที่ “ห้ามล้อ” เขาเสียจะให้คนดูเขาว่า เป็นเด็กที่คุมตัวเอง
ไม่เป็น ไม่รักษาเวลา บางคนจะดูเหมือนเด็กกว่าเพื่อนๆ
10. เลือกแต่เรื่องที่สำคัญน่าตอแยให้เหลือไม่มาก :
เราต้องมาเรียงลำดับว่า อะไรสำคัญก่อนหลัง
สำหรับเด็กและคุณ โดยเน้นให้เด็กช่วยตัวเองเป็นเข้าสังคมได้ ผ่อนผันส่วนยังไม่สำคัญจำเป็น
เล็กน้อยตอนนี้ออกไปบ้าง เลือกแต่ส่วนใหญ่ๆก่อน
สำหรับเด็กและคุณ โดยเน้นให้เด็กช่วยตัวเองเป็นเข้าสังคมได้ ผ่อนผันส่วนยังไม่สำคัญจำเป็น
เล็กน้อยตอนนี้ออกไปบ้าง เลือกแต่ส่วนใหญ่ๆก่อน
11. หยุดโทษตัวเอง หยุดโทษเด็ก :
อย่านำปัญหาของตัวคุณไปใส่รวมกับของเด็กด้วย ไม่มีวิธีการไหนที่
ได้ผลทุกวัน ถ้าวันไหนเกิดไม่ได้ผล อย่าเพิ่งโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นพ่อแม่คนไม่ได้ เด็กซน
สมาธิสั้นจะมีวันดีกับไม่ดี ขึ้นๆ ลงๆ ความผันผวนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณเป็นพ่อแม่ดีระดับไหน
แต่เป็นจากตัวโรคของเขาเอง ต้องเน้นว่ามองหาแต่พฤติกรรมที่ดี
ได้ผลทุกวัน ถ้าวันไหนเกิดไม่ได้ผล อย่าเพิ่งโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นพ่อแม่คนไม่ได้ เด็กซน
สมาธิสั้นจะมีวันดีกับไม่ดี ขึ้นๆ ลงๆ ความผันผวนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณเป็นพ่อแม่ดีระดับไหน
แต่เป็นจากตัวโรคของเขาเอง ต้องเน้นว่ามองหาแต่พฤติกรรมที่ดี
12 . หัดให้อภัย :
ก่อนนอนทุกวัน หัดให้อภัยยกโทษให้เด็กถ้าเขาทำไม่ดีไว้ในวันนั้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้
เห็นว่าเราอยากให้เขาดีจริงๆ นอกจากนี้ หัดยกโทษให้ตัวเองด้วย ถ้าเราทำอะไรไม่เหมาะไปในวันนั้น
เห็นว่าเราอยากให้เขาดีจริงๆ นอกจากนี้ หัดยกโทษให้ตัวเองด้วย ถ้าเราทำอะไรไม่เหมาะไปในวันนั้น
โดย : ผ.ศ.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์
ลูกก่อศึก
ช่วงนี้ลูกของดิฉันเริ่มเกิดอาการอยากเป็นนักรบตัวน้อยๆ ค่ะ เวลามีเพื่อนวัยเดียวกัน หรือญาติๆ วัยไล่เลี่ยกันมาเล่นด้วย เล่นกันสักพักเป็นต้องมีอาการหัวฟัดหัวเหวี่ยงใส่กัน บางครั้งก็เกือบจะมีการลงไม้ลงมือกัน เป็นอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว ดิฉันต้องหาสาเหตุแล้วก็หาทางหย่าศึกพวกนี้ แล้วในที่สุดก็พบทางออกค่ะ
ทำไมเด็กๆ จึงทะเลาะกัน
อ๋อ... ความจริงแล้วการทะเลาะกันของเด็กๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะวัยนี้เพิ่งเริ่มรู้จักการเล่นกับเพื่อน รู้จักการเข้าสังคม เด็กๆ ยังไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ ทั้งยังไม่รู้วิธีการที่จะเข้าไปเล่นกับเพื่อน จึงกลายเป็นว่าเวลาจะเล่นกับใครก็ต้องไปเรียกร้องความสนใจด้วยการแย่งของเล่นเพื่อน เกิดความอยากได้อะไรขึ้นมาก็จะเอาดื้อๆ หรือพอถูกเพื่อนปฏิเสธไม่ทำตามใจก็จะหัวเสีย รวนเพื่อนเสียอย่างนั้นเอง และเพื่อนที่เป็นเด็กด้วยกัน ไม่เหมือนพ่อแม่นี่คะ จะได้ใจเย็นกับอาการรวน รวนมาก็รวนกลับ ก็เลยกลายเป็นเรื่องกันขึ้นมา
พี่น้องทะเลาะกัน
สาเหตุก็เกิดจากการที่ลูกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง จึงต้องมีการหวงแหนและปกป้องอาณาเขตของตนเอง การทะเลาะกันก็เป็นการทดสอบอาณาเขตตนเองของเด็กๆ ค่ะ พี่น้องกันทะเลาะกันก็เพราะหนูเริ่มรู้แล้วว่านี่พื้นที่ของหนู นี่ของของหนู เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกทะเลาะกัน เราก็ต้องปูพื้นฐานเรื่องการแบ่งปันให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ พอถึงวัยทดสอบอาณาเขต ลูกก็จะมีปัญหาเรื่องการทะเลาะกันน้อยลงไปเยอะเลยค่ะ
ลูกชอบแกล้งเพื่อน
จะมีเด็กบางคนที่มีนิสัยชอบแหย่ ชอบแกล้งเพื่อน การที่แกทำอย่างนั้นเพราะแกสนุกค่ะ เป็นวิธีเล่นสนุกของแก แต่แกไม่ทันคิดว่าเพื่อนเดือดร้อนจากความสนุกนั้น แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนจะเป็นแบบนี้นะคะ มีเด็กบางคนเท่านั้นที่ชอบแกล้งเพื่อน
ดังนั้น ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกเราชอบแหย่เพื่อนจนเพื่อนร้องไห้ หรือชอบหงุดหงิดหัวเสียใส่เพื่อนบ่อยๆ เราต้องคอยเบรกลูกค่ะ แต่ต้องไม่ใช่ด้วยวิธีการรุนแรงหรือทำโทษ คือต้องค่อยๆ อธิบายให้แกเข้าใจว่า ทำอย่างนี้จะเกิดผลเสียยังไง ทำอย่างนี้เพื่อนจะวิ่งหนี ไม่อยากเล่นด้วย หรือทำอย่างนั้นเพื่อนจะเสียใจ ร้องไห้ หนูต้องสงสารเพื่อนนะคะ และสอนให้ลูกรู้จักวิธีการพูดแสดงความรู้สึก เช่น อยากได้ก็ต้องขอยืมหรือขอแลก แล้วถ้าเพื่อนไม่ให้หนูก็ต้องรู้จักรอให้เพื่อนเล่นเสร็จก่อนหนูค่อยเล่นก็ได้ ระหว่างนี้หนูก็เล่นอย่างอื่นที่สนุกพอๆ กันไปก่อน เป็นต้น แม้กับเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนเราก็ต้องพูดกับแกดีๆ ค่ะ เพราะการแสดงอารมณ์ก้าวร้าวใส่เด็ก เด็กก็จะยิ่งก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเขาเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง พฤติกรรมก้าวร้าวก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ค่ะ
ลูกมักถูกแกล้ง
แล้วถ้าลูกของเราค่อนข้างปวกเปียก เราก็ต้องบอกลุกว่าให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะถูกรังแก เช่น เพื่อนคนนี้เข้ามาใกล้จะแกล้งอีก ก็หลีกออกมาให้ห่าง หรือถ้าเขายังตามมาแกล้ง ต้องบอกคุณครูให้ทราบเพื่อให้ช่วยเคลียร์ปัญหาให้
แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์นั้นแล้วเห็นลูกถูกแกล้ง โดยที่ลูกเราไม่ใช่ฝ่ายผิด อย่าแสดงอารมณ์โกรธหรือดุอีกฝ่ายนะคะ เพราะต่อไปเด็กคนนั้นจะยิ่งแกล้งลูกเรามากยิ่งขึ้น แถมลูกเราก็ไม่ได้เรียนรู้แบบอย่างการจัดการกับปัญหาจากเรา เราควรเข้าไปไกล่เกลี่ยก่อนค่ะ บอกอีกฝ่ายอย่างนุ่มนวลว่าทำอย่างนั้นไม่ได้นะคะ เพื่อนเสียใจแล้วก็เจ็บด้วย เสนอทางเลือกใหม่ให้กับเด็กๆ เช่น เล่นแบบนี้ดีกว่าไหมคะ การทำอย่างนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงการรับมือกับปัญหาว่า สามารถหาทางออกได้มากกว่าการทะเลาะกันค่ะ
หย่าศึกก่อนเกิดสงครามย่อยๆ
เวลาเด็กแสดงอาการก้าวร้าว ทะเลาะกัน พ่อแม่อย่ามีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์นั้นมากเกินไป เช่น อย่าร้องโวยวายเสียงดัง หรือต้องรีบเข้าไปโอ๋ลูก เพราะเด็กจะเข้าใจว่าทำอย่างนี้จะเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ได้ ทีหลังก็จะใช้วิธีนี้เรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่อีก
อย่าหงุดหงิดใส่ลูก เพราะลูกจะซึมซับความหงุดหงิดนั้นไปด้วย และนี่ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาทะเลาะกันของเด็ก แต่กลับยิ่งทำให้เด็กโมโหโกรธาและหงุดหงิดตามและเป็นการบ่มเพาะความก้าวร้าวขึ้นในใจเด็กค่ะ
ยุติความขัดแย้งด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจออกจากสิ่งนั้น เช่น แย่งของเล่นกันก็หาอะไรใหม่ๆ มาชวนลูกๆ ทำ เช่น ดูการ์ตูนกันไหม หรือมาเล่นตัวต่อนี้ดีกว่า เป็นต้น
ถ้าเห็นว่าชักจะทะเลาะกันเกินงาม มีการผลัก ดึงทึ้งกันแล้ว ต้องพูดกับลูกอย่างหนักแน่นแต่นุ่มนวล ว่าทำอย่างนั้นไม่ได้นะคะ ค่อยๆ จับมือลูกออกจากเพื่อนแล้วพอลูกอารมณ์สงบแล้วค่อยมาคุยกันถึงเหตุผลว่า ทำอย่างนั้นทำให้เพื่อนเจ็บ ลูกก็คงไม่อยากเจ็บแบบนั้นใช่ไหมคะ
ไม่ควรจะแสดงอาการว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหาคนผิด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องทะเลาะกัน หรือเพื่อนทะเลาะกัน เพราะการแสดงอารมณ์ลบๆ ออกไปไม่ว่าจะกับฝ่ายใด จะไม่เป็นผลดีกับเด็กคนนั้น เพราะเด็กไม่ชอบค่ะ ยิ่งห้ามก็เลยเหมือนยิ่งยุ เด็กก็จะมีพฤติกรรมแบบนั้นซ้ำๆ ส่วนฝ่ายที่ถูกปกป้องก็จะไม่ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ที่เป็นตัวอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่ เอะอะอะไรก็จะหาแม่ ฟ้องแม่ ซึ่งในชีวิตจริงเราไม่สามารถปกป้องลูกได้ตลอดเวลา
Tricks สร้างแนวป้องกัน ลูกก่อศึก
ถ้าเด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มเล่นกัน ควรหาสถานที่เล่นที่ปลอดโปร่ง เป็นที่โล่งๆ เช่น สนามหญ้าให้เด็กได้วิ่งเล่นระบายพลังงานออกไป เพราะการอยู่ในห้องแคบๆ จะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสียได้ง่าย แต่ถ้าเป็นที่โล่งๆ ปลอดภัย ไม่มีอะไรใกล้มือให้หยิบขว้างกันได้ คงไม่มีโอกาสกระทบกระทั่งกัน การทะเลาะก็จะน้อยลง แถมจะเป็นความประทับใจทำให้เด็กๆ อยากมาเล่นกันอีกบ่อยๆ
ชื่นชมเมื่อลูกเล่นกันอย่างสร้างสรรค์แบ่งปันของเล่นกัน ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดู การชมจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าถ้าเล่นกันดีๆ จะได้รับการชื่นชม และเรียนรู้ว่าทำตัวอย่างนี้เพื่อนๆ ก็ยอมรับ ผู้ใหญ่ก็ยอมรับ เด็กๆ นี่เขาก็บ้ายอไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะคะ ฮิฮิๆ
การห้ามทัพเด็กทะเลาะกัน ต้องใช้กระบวนยุทธต่างๆ หลายกระบวนค่ะ ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ คุยให้หนูเข้าใจ
ทำไมเด็กๆ จึงทะเลาะกัน
อ๋อ... ความจริงแล้วการทะเลาะกันของเด็กๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะวัยนี้เพิ่งเริ่มรู้จักการเล่นกับเพื่อน รู้จักการเข้าสังคม เด็กๆ ยังไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ ทั้งยังไม่รู้วิธีการที่จะเข้าไปเล่นกับเพื่อน จึงกลายเป็นว่าเวลาจะเล่นกับใครก็ต้องไปเรียกร้องความสนใจด้วยการแย่งของเล่นเพื่อน เกิดความอยากได้อะไรขึ้นมาก็จะเอาดื้อๆ หรือพอถูกเพื่อนปฏิเสธไม่ทำตามใจก็จะหัวเสีย รวนเพื่อนเสียอย่างนั้นเอง และเพื่อนที่เป็นเด็กด้วยกัน ไม่เหมือนพ่อแม่นี่คะ จะได้ใจเย็นกับอาการรวน รวนมาก็รวนกลับ ก็เลยกลายเป็นเรื่องกันขึ้นมา
พี่น้องทะเลาะกัน
สาเหตุก็เกิดจากการที่ลูกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง จึงต้องมีการหวงแหนและปกป้องอาณาเขตของตนเอง การทะเลาะกันก็เป็นการทดสอบอาณาเขตตนเองของเด็กๆ ค่ะ พี่น้องกันทะเลาะกันก็เพราะหนูเริ่มรู้แล้วว่านี่พื้นที่ของหนู นี่ของของหนู เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกทะเลาะกัน เราก็ต้องปูพื้นฐานเรื่องการแบ่งปันให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ พอถึงวัยทดสอบอาณาเขต ลูกก็จะมีปัญหาเรื่องการทะเลาะกันน้อยลงไปเยอะเลยค่ะ
ลูกชอบแกล้งเพื่อน
จะมีเด็กบางคนที่มีนิสัยชอบแหย่ ชอบแกล้งเพื่อน การที่แกทำอย่างนั้นเพราะแกสนุกค่ะ เป็นวิธีเล่นสนุกของแก แต่แกไม่ทันคิดว่าเพื่อนเดือดร้อนจากความสนุกนั้น แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนจะเป็นแบบนี้นะคะ มีเด็กบางคนเท่านั้นที่ชอบแกล้งเพื่อน
ดังนั้น ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกเราชอบแหย่เพื่อนจนเพื่อนร้องไห้ หรือชอบหงุดหงิดหัวเสียใส่เพื่อนบ่อยๆ เราต้องคอยเบรกลูกค่ะ แต่ต้องไม่ใช่ด้วยวิธีการรุนแรงหรือทำโทษ คือต้องค่อยๆ อธิบายให้แกเข้าใจว่า ทำอย่างนี้จะเกิดผลเสียยังไง ทำอย่างนี้เพื่อนจะวิ่งหนี ไม่อยากเล่นด้วย หรือทำอย่างนั้นเพื่อนจะเสียใจ ร้องไห้ หนูต้องสงสารเพื่อนนะคะ และสอนให้ลูกรู้จักวิธีการพูดแสดงความรู้สึก เช่น อยากได้ก็ต้องขอยืมหรือขอแลก แล้วถ้าเพื่อนไม่ให้หนูก็ต้องรู้จักรอให้เพื่อนเล่นเสร็จก่อนหนูค่อยเล่นก็ได้ ระหว่างนี้หนูก็เล่นอย่างอื่นที่สนุกพอๆ กันไปก่อน เป็นต้น แม้กับเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนเราก็ต้องพูดกับแกดีๆ ค่ะ เพราะการแสดงอารมณ์ก้าวร้าวใส่เด็ก เด็กก็จะยิ่งก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเขาเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง พฤติกรรมก้าวร้าวก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ค่ะ
ลูกมักถูกแกล้ง
แล้วถ้าลูกของเราค่อนข้างปวกเปียก เราก็ต้องบอกลุกว่าให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะถูกรังแก เช่น เพื่อนคนนี้เข้ามาใกล้จะแกล้งอีก ก็หลีกออกมาให้ห่าง หรือถ้าเขายังตามมาแกล้ง ต้องบอกคุณครูให้ทราบเพื่อให้ช่วยเคลียร์ปัญหาให้
แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์นั้นแล้วเห็นลูกถูกแกล้ง โดยที่ลูกเราไม่ใช่ฝ่ายผิด อย่าแสดงอารมณ์โกรธหรือดุอีกฝ่ายนะคะ เพราะต่อไปเด็กคนนั้นจะยิ่งแกล้งลูกเรามากยิ่งขึ้น แถมลูกเราก็ไม่ได้เรียนรู้แบบอย่างการจัดการกับปัญหาจากเรา เราควรเข้าไปไกล่เกลี่ยก่อนค่ะ บอกอีกฝ่ายอย่างนุ่มนวลว่าทำอย่างนั้นไม่ได้นะคะ เพื่อนเสียใจแล้วก็เจ็บด้วย เสนอทางเลือกใหม่ให้กับเด็กๆ เช่น เล่นแบบนี้ดีกว่าไหมคะ การทำอย่างนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงการรับมือกับปัญหาว่า สามารถหาทางออกได้มากกว่าการทะเลาะกันค่ะ
หย่าศึกก่อนเกิดสงครามย่อยๆ
เวลาเด็กแสดงอาการก้าวร้าว ทะเลาะกัน พ่อแม่อย่ามีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์นั้นมากเกินไป เช่น อย่าร้องโวยวายเสียงดัง หรือต้องรีบเข้าไปโอ๋ลูก เพราะเด็กจะเข้าใจว่าทำอย่างนี้จะเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ได้ ทีหลังก็จะใช้วิธีนี้เรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่อีก
อย่าหงุดหงิดใส่ลูก เพราะลูกจะซึมซับความหงุดหงิดนั้นไปด้วย และนี่ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาทะเลาะกันของเด็ก แต่กลับยิ่งทำให้เด็กโมโหโกรธาและหงุดหงิดตามและเป็นการบ่มเพาะความก้าวร้าวขึ้นในใจเด็กค่ะ
ยุติความขัดแย้งด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจออกจากสิ่งนั้น เช่น แย่งของเล่นกันก็หาอะไรใหม่ๆ มาชวนลูกๆ ทำ เช่น ดูการ์ตูนกันไหม หรือมาเล่นตัวต่อนี้ดีกว่า เป็นต้น
ถ้าเห็นว่าชักจะทะเลาะกันเกินงาม มีการผลัก ดึงทึ้งกันแล้ว ต้องพูดกับลูกอย่างหนักแน่นแต่นุ่มนวล ว่าทำอย่างนั้นไม่ได้นะคะ ค่อยๆ จับมือลูกออกจากเพื่อนแล้วพอลูกอารมณ์สงบแล้วค่อยมาคุยกันถึงเหตุผลว่า ทำอย่างนั้นทำให้เพื่อนเจ็บ ลูกก็คงไม่อยากเจ็บแบบนั้นใช่ไหมคะ
ไม่ควรจะแสดงอาการว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหาคนผิด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องทะเลาะกัน หรือเพื่อนทะเลาะกัน เพราะการแสดงอารมณ์ลบๆ ออกไปไม่ว่าจะกับฝ่ายใด จะไม่เป็นผลดีกับเด็กคนนั้น เพราะเด็กไม่ชอบค่ะ ยิ่งห้ามก็เลยเหมือนยิ่งยุ เด็กก็จะมีพฤติกรรมแบบนั้นซ้ำๆ ส่วนฝ่ายที่ถูกปกป้องก็จะไม่ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ที่เป็นตัวอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่ เอะอะอะไรก็จะหาแม่ ฟ้องแม่ ซึ่งในชีวิตจริงเราไม่สามารถปกป้องลูกได้ตลอดเวลา
Tricks สร้างแนวป้องกัน ลูกก่อศึก
ถ้าเด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มเล่นกัน ควรหาสถานที่เล่นที่ปลอดโปร่ง เป็นที่โล่งๆ เช่น สนามหญ้าให้เด็กได้วิ่งเล่นระบายพลังงานออกไป เพราะการอยู่ในห้องแคบๆ จะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสียได้ง่าย แต่ถ้าเป็นที่โล่งๆ ปลอดภัย ไม่มีอะไรใกล้มือให้หยิบขว้างกันได้ คงไม่มีโอกาสกระทบกระทั่งกัน การทะเลาะก็จะน้อยลง แถมจะเป็นความประทับใจทำให้เด็กๆ อยากมาเล่นกันอีกบ่อยๆ
ชื่นชมเมื่อลูกเล่นกันอย่างสร้างสรรค์แบ่งปันของเล่นกัน ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดู การชมจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าถ้าเล่นกันดีๆ จะได้รับการชื่นชม และเรียนรู้ว่าทำตัวอย่างนี้เพื่อนๆ ก็ยอมรับ ผู้ใหญ่ก็ยอมรับ เด็กๆ นี่เขาก็บ้ายอไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะคะ ฮิฮิๆ
การห้ามทัพเด็กทะเลาะกัน ต้องใช้กระบวนยุทธต่างๆ หลายกระบวนค่ะ ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ คุยให้หนูเข้าใจ
[ ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 101 มีนาคม 2547 ]
เทคนิคสยบลูกด้วยวิธี “ไม่สนใจ”!
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนกับ คำว่า “ไม่สนใจ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ไยดี ปล่อยปละละเลย หรือทิ้งๆ ขว้างๆ แต่...หมายถึงการ “ใส่ใจ” ด้วยวิธี “ไม่สนใจ” เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กยุคนี้ไม่ธรรมดา ยิ่งเกิดในครอบครัวไม่ธรรมดาด้วยแล้ว เด็กยิ่งมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อการกลายเป็นเด็กที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่าง เป็นธรรมดาที่คนเป็นพ่อแม่จะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อลูกผู้เป็นดั่งดวงใจ จึงไม่ต้องแปลกใจที่ลูกจะเป็นศูนย์กลางของคนเป็นพ่อแม่ ยิ่งถ้าเป็นครอบครัวขยาย เด็กก็เป็นศูนย์กลางของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปู่ย่าตายาย พี่ป้าน้าอา เด็กจะเป็นคนสำคัญและได้รับความสนใจอยู่ตลอดเวลา
ก่อนหน้านี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลเด็กแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกของชาวอเมริกันแบบไม่เครียด โดยให้พ่อแม่ทำเป็นไม่สนใจลูกบ้าง เพราะพบว่าเด็กอเมริกันยุคนี้แทบจะไม่เคยลิ้มรสรับรู้ชีวิตที่ไม่ได้รับความสนใจเลย จนกลายเป็นเด็กที่เรียกร้องความสนใจเก่งไปแล้ว เด็กยุคนี้แทบจะเป็นศูนย์กลางของความสนใจของพ่อแม่นับแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลกเลยก็ว่าได้ พวกเขาเรียนรู้ว่าตัวเองนั้นมีความสำคัญเพียงใด ดังนั้น จึงทนไม่ได้เลยหากถูกละเลยไม่สนใจ เด็กจึงมีวิธีการเรียกร้องความสนใจมากมายหลายรูปแบบ ทุกวันนี้พ่อแม่จำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าการเลี้ยงดูลูกนั้นทำให้เกิดความเครียด แต่ก็ยินดีและมีความรู้สึกว่าจะต้องให้ความสนใจกับลูกมากๆ โดยหารู้ไม่ว่า ยิ่งพ่อแม่ให้ความสนใจลูกมากเท่าใด ลูกก็ยิ่งต้องการความสนใจมากขึ้นเท่านั้น ในอดีต เด็กๆ ไม่ได้รับความสนใจจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากเหมือนกับเด็กในปัจจุบัน และเด็กก็ได้เรียนรู้ด้วยว่าอะไรควรทำ และไม่ควรทำอะไร เป็นการเรียกร้องความสนใจ ซึ่งทำให้ทั้งพ่อแม่ลูกได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และไม่เป็นการตามใจลูกจนเกินไป ฉะนั้น การไม่สนใจลูกบ้างจึงเป็นวิธีการเลี้ยงลูกอย่างหนึ่งที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย สถานการณ์ของเด็กในอเมริกาก็ไม่ต่างจากเด็กไทย หรือแนวโน้มของเด็กทั่วโลก เพราะเด็กที่เกิดมาในยุคนี้ มักจะได้รับการประคบประหงมที่ค่อนไปทางเกินเหตุเสียมากกว่า..!! ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับครอบครัวชนชั้นกลาง และครอบครัวผู้มีอันจะกินทั้งหลาย สาเหตุหลักๆ ก็มาจากพ่อแม่ยุคนี้มีค่านิยมที่ต้องการมีลูกคนเดียว หรือไม่เกินสองคน โดยมีเป้าหมายจะดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประมาณว่ามีลูกน้อยแต่พร้อมที่จะเลี้ยงดูอย่างเต็มที่ อยากได้อะไรก็มักจะได้ โดยหารู้ไม่ว่า กลายเป็นการสะสมบ่มเพาะนิสัยที่ไม่ดีหลายๆ อย่างให้เกิดขึ้นในตัวลูก อีกประการหนึ่ง ก็คือ ต้องการทดแทนชีวิตในวัยเด็กของพ่อแม่เอง มีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะตอบสนองลูกในทุกเรื่อง ซึ่งบางครั้งการตอบสนองดังกล่าวจะออกมาในรูปของวัตถุมากกว่า ทำให้เด็กมักจะเรียกร้อง และสิ่งที่เรียกร้องก็มักจะเป็นสิ่งของซะมากกว่า เราจะเห็นได้ว่า เด็กๆ มักจะเอาแต่ใจตนเอง เพราะเวลาอยากได้อะไรแล้วมักจะได้ เพราะเด็กเรียนรู้ว่าพ่อแม่รักเขา และเขาก็เรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะตอบสนองสิ่งที่เขาต้องการ เรียกว่าตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่ก็จะประคบประหงม ไม่ให้ลูกร้องไห้ บางทีลูกยังไม่ทันได้รู้สึกหิว เพราะความห่วงใยของพ่อแม่ที่กลัวลูกหิว ก็จะเตรียมให้ลูกไม่ได้ขาด ลูกอยากได้สิ่งใด ก็ตามใจลูก ไม่อยากให้ลูกเสียใจหรือร้องไห้ เมื่อเด็กเรียนรู้ว่าทุกคนรักเขา และให้ความสำคัญกับเขา เขาก็เรียนรู้วิธีต่างๆ ได้มากมายกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ คิด บางครั้งเขาเรียนรู้ว่าถ้าลงไปนอนดิ้นกับพื้นเมื่อไร แม่จะต้องตอบสนองสิ่งที่เขาต้องการ หรือพ่อแม่บางคนจะทนไม่ได้เมื่อเห็นลูกร้องไห้ กับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือต้องการตัดรำคาญก็ตอบสนองทันที เด็กก็ยิ่งจดจำวิธีการเหล่านั้น เด็กจะทนไม่ได้ ถ้าพ่อแม่ไม่ให้ความสนใจในตัวเขา เขาจึงพยายามสรรหาวิธีเรียกร้องความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กที่เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางยุคนี้ ได้รับความรักหรือความสนใจจากคนเป็นพ่อแม่ออกจะเกินเหตุด้วยซ้ำไป เขาควรจะต้องได้รับภูมิต้านทานในเรื่องนี้ ฉะนั้น คนเป็นพ่อแม่ต้องใช้วิธี “ไม่สนใจ” เพื่อสยบความเฮี้ยว หรือความเอาแต่ใจตนเองของลูกบ้าง แล้วมีวิธีใดบ้าง ? หนึ่ง – ลูกเป็นศูนย์กลางของพ่อแม่ก็จริงอยู่ แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกให้ลูกรับรู้ทั้งหมด ควรจะอธิบายและสอนให้ลูกมีเหตุผลมากกว่าจะยอมลูกเพราะความรักเพียงอย่างเดียว ลูกจำเป็นที่จะต้องถูกปฏิเสธในบางเรื่องที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม โดยมีพ่อแม่คอยอธิบาย และพูดคุยด้วยเหตุผลอย่างสม่ำเสมอ สอง – ต้องพยายามสร้างความรับรู้ และความเข้าใจกับคนในครอบครัว ที่มีส่วนต่อการดูแลลูกของเรา เพราะความรักของผู้ใหญ่ในบ้าน บางคราก็ทำร้ายลูกหลานของเราเอง ถ้าเรารักลูกไม่ถูกทาง การบ่มเพาะนิสัยที่ไม่ดี หรือปลูกฝังนิสัยดีๆ ก็เริ่มตั้งแต่เล็ก และก็เกิดจากการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อม รวมถึงผู้คนในครอบครัวที่ต้องร่วมรับผิดชอบร่วมกัน ผู้ใหญ่ในบ้านต่างก็รักลูกของเรา การทำความเข้าใจ เพื่อให้การเลี้ยงดูลูกของเราไปในทิศทางเดียวกัน และบ่มเพาะนิสัยที่ดีเพื่ออนาคต สาม – บางครั้งวิธีที่ไม่สนใจลูก ก็ช่วยสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกได้ เช่น ถ้าลูกแสดงอาการที่ไม่เหมาะสม อาละวาด หรือกรี๊ด หรือนอนดิ้นกับพื้น เพื่อต้องการได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเพื่อต้องการให้เรียกร้องความสนใจ แม้ใจจริงคุณอยากจะให้ลูกขนาดไหน ก็ต้องใจแข็ง และบอกกับตัวเองว่าต้องผ่านไปให้ได้ เพื่อสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกของเราที่ต้องเติบโตขึ้นไปในอนาคต โดยไม่มีเรา ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ต้องถามตัวเราเองว่าแล้วเราสร้างลูกมาแบบไหนด้วยเช่นกัน
ที่มา : ผู้จัดการ --> สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
เมื่อลูกพูดคำหยาบ
เมื่อคุณได้ยินลูกวัยประมาณ 4 ขวบ พูดคำหยาบ…
ก่อนอื่นขอให้คุณถามตัวเองก่อนว่า หากลูกพูดคำพูดที่ไม่ค่อยหวานหูนั้น ท่ามกลางโต๊ะกินข้าวกับญาติผู้ใหญ่ คุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร…
คุณอาจจะดุเขาด้วยเสียงดัง (ห้ามพูดคำๆนี้นะ)… อับอายจนหน้าแดงและพูดไม่ออก… หรือพยายามเปลี่ยนเรื่องคุยให้เป็นเรื่องอื่น เด็กๆมักจะเริ่มจดจำและพูดคำหยาบเมื่ออายุได้ประมาณ 4 ขวบ เขามักจะจดจำคำต่างๆเมื่อได้ยินบ่อยๆ และทดลองใช้มัน ในความคิดของพวกเขานั้นคำหยาบหรือคำที่ไม่สุภาพนั้นเป็นคำคำหนึ่งที่เขาไม่รู้ความหมายแน่นอน แต่เมื่อได้พูดออกมาแล้ว จะมีผลกระทบที่ชัดเจนต่อผู้ฟัง ดังนั้นวิธีการตอบสนองที่ถูกต้องก็คือ “อย่าตอบสนองต่อการที่เขาพูดคำหยาบให้เป็นเรื่องใหญ่ (overreact)” มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติง่ายๆดังนี้ค่ะ
1. หาแหล่งที่มาของคำหยาบเหล่านั้น เด็กวัย 4-5 ขวบ มักจะเล่นกับเพื่อนบ้านหรือรุ่นพี่ที่มีวัยมากกว่า (หรือแม้แต่ผู้ปกครอง) เขาจะเรียนรู้ว่าคำหยาบเหล่านี้เป็นคำที่มีอำนาจสูง มันสามารถทำให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน เช่น หยุดพูดหรือหยุดทำสิ่งที่กำลังทำอยู่ คุณต้องสอดส่องดูว่าแหล่งของคำหยาบเหล่านี้มาจากไหน พยายามกันลูกจากบุคคลเหล่านั้น หรือพูดกับเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้อง (ถ้าทำได้) นอกจากนั้นควรจะเลือกดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่มีคำสบทหรือคำไม่สุภาพ
2. เมื่อลูกพูดคำหยาบให้คุณอธิบายเขาว่า “คำบางคำไม่ควรพูดนะลูก เวลาคนอื่นได้ยินแล้วจะรู้สึกไม่ดี” คำเหล่านี้อาจจะรวมถึงคำพูดส่วนตัวอื่นๆด้วย เช่น อึ ฉี่ ซึ่งไม่ควรพูดบนโต๊ะอาหาร “หากลูกปวดอึหรือปวดฉี่ให้มากกระซิบให้แม่ฟัง”
3. สอนให้หลีกเลี่ยงใช้คำอื่นๆแทน หากลูกของคุณใช้คำหยาบในการระบายอารมณ์ ก็ควรจะสอนให้เขาใช้คำอื่นที่น่าฟังกว่าแทน เช่น เวลาโกรธ ก็ให้พูดว่า “โกรธแล้วนะ” แทน แล้วอย่าลืมว่าผู้ใหญ่ควรจะต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย
4. เพิกเฉยซะ เมื่อลูกของคุณเรียนรู้ว่าคำบางคำเมื่อพูดแล้วทำให้คนอื่นมีปฏิกิริยาตอบสนองได้ เขาคงอยากจะพูดออกมาเพื่อทดสอบอำนาจของคำๆนั้นในบางครั้ง ให้คุณทำเป็นเพิกเฉยเสีย ให้เขารู้สึกว่ามันไม่มีความหมาย
5. เมื่อลูกโตขึ้นเช่นอายุ 6-7 ขวบ เขาโตพอที่จะเรียนรู้ความหมายของคำ เหตุและผลได้ คุณควรจะต้องสร้างกฎภายในบ้านว่า “ภายในบ้าน พ่อกับแม่ห้ามลูกๆพูดคำหยาบหรือคำไม่สุภาพ” และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด หากมีการพูดเกิดขั้นจะต้องมีการทำโทษ
เรียบเรียงจาก The good behaviour book โดย Dr. William Sears and Martha Sears. Keyword: คำหยาบ ไม่สุภาพ
ก่อนอื่นขอให้คุณถามตัวเองก่อนว่า หากลูกพูดคำพูดที่ไม่ค่อยหวานหูนั้น ท่ามกลางโต๊ะกินข้าวกับญาติผู้ใหญ่ คุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร…
คุณอาจจะดุเขาด้วยเสียงดัง (ห้ามพูดคำๆนี้นะ)… อับอายจนหน้าแดงและพูดไม่ออก… หรือพยายามเปลี่ยนเรื่องคุยให้เป็นเรื่องอื่น เด็กๆมักจะเริ่มจดจำและพูดคำหยาบเมื่ออายุได้ประมาณ 4 ขวบ เขามักจะจดจำคำต่างๆเมื่อได้ยินบ่อยๆ และทดลองใช้มัน ในความคิดของพวกเขานั้นคำหยาบหรือคำที่ไม่สุภาพนั้นเป็นคำคำหนึ่งที่เขาไม่รู้ความหมายแน่นอน แต่เมื่อได้พูดออกมาแล้ว จะมีผลกระทบที่ชัดเจนต่อผู้ฟัง ดังนั้นวิธีการตอบสนองที่ถูกต้องก็คือ “อย่าตอบสนองต่อการที่เขาพูดคำหยาบให้เป็นเรื่องใหญ่ (overreact)” มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติง่ายๆดังนี้ค่ะ
1. หาแหล่งที่มาของคำหยาบเหล่านั้น เด็กวัย 4-5 ขวบ มักจะเล่นกับเพื่อนบ้านหรือรุ่นพี่ที่มีวัยมากกว่า (หรือแม้แต่ผู้ปกครอง) เขาจะเรียนรู้ว่าคำหยาบเหล่านี้เป็นคำที่มีอำนาจสูง มันสามารถทำให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน เช่น หยุดพูดหรือหยุดทำสิ่งที่กำลังทำอยู่ คุณต้องสอดส่องดูว่าแหล่งของคำหยาบเหล่านี้มาจากไหน พยายามกันลูกจากบุคคลเหล่านั้น หรือพูดกับเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้อง (ถ้าทำได้) นอกจากนั้นควรจะเลือกดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่มีคำสบทหรือคำไม่สุภาพ
2. เมื่อลูกพูดคำหยาบให้คุณอธิบายเขาว่า “คำบางคำไม่ควรพูดนะลูก เวลาคนอื่นได้ยินแล้วจะรู้สึกไม่ดี” คำเหล่านี้อาจจะรวมถึงคำพูดส่วนตัวอื่นๆด้วย เช่น อึ ฉี่ ซึ่งไม่ควรพูดบนโต๊ะอาหาร “หากลูกปวดอึหรือปวดฉี่ให้มากกระซิบให้แม่ฟัง”
3. สอนให้หลีกเลี่ยงใช้คำอื่นๆแทน หากลูกของคุณใช้คำหยาบในการระบายอารมณ์ ก็ควรจะสอนให้เขาใช้คำอื่นที่น่าฟังกว่าแทน เช่น เวลาโกรธ ก็ให้พูดว่า “โกรธแล้วนะ” แทน แล้วอย่าลืมว่าผู้ใหญ่ควรจะต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย
4. เพิกเฉยซะ เมื่อลูกของคุณเรียนรู้ว่าคำบางคำเมื่อพูดแล้วทำให้คนอื่นมีปฏิกิริยาตอบสนองได้ เขาคงอยากจะพูดออกมาเพื่อทดสอบอำนาจของคำๆนั้นในบางครั้ง ให้คุณทำเป็นเพิกเฉยเสีย ให้เขารู้สึกว่ามันไม่มีความหมาย
5. เมื่อลูกโตขึ้นเช่นอายุ 6-7 ขวบ เขาโตพอที่จะเรียนรู้ความหมายของคำ เหตุและผลได้ คุณควรจะต้องสร้างกฎภายในบ้านว่า “ภายในบ้าน พ่อกับแม่ห้ามลูกๆพูดคำหยาบหรือคำไม่สุภาพ” และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด หากมีการพูดเกิดขั้นจะต้องมีการทำโทษ
เรียบเรียงจาก The good behaviour book โดย Dr. William Sears and Martha Sears. Keyword: คำหยาบ ไม่สุภาพ
วันเด็กแห่งชาติ
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
คำขวัญวันเด็ก
คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2499
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507
จอมพล ถนอม กิตติขจร
ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508
จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509
จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510
จอมพล ถนอม กิตติขจร
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511
จอมพล ถนอม กิตติขจร
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512
จอมพล ถนอม กิตติขจร
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513
จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514
จอมพล ถนอม กิตติขจร
ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515
จอมพล ถนอม กิตติขจร
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516
จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535
นายอานันท์ ปันยารชุน
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536
นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537
นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538
นายชวน หลีกภัย
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539
นายบรรหาร ศิลปอาชา
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541
นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542
นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543
นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544
นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การอบรมเลี้ยงดูให้ลูกเป็นคนดี มีคุณภาพ
ส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมดุลครบทุกด้าน
พ่อแม่ช่วยส่งเสริมให้ลูก เป็นคนดี คนเก่งของครอบครัวและสังคมได้ โดย- ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ด้วยความรักและความเข้าใจ ทำให้ลูกมีจิตใจดี- ให้โอกาสลูกเรียนรู้ เล่น และฝึกทำสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเป็นมิตร ทำให้ลูกฉลาด คล่องแคล่ว และมีมานะอดทน- ยิ้มแย้ม สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน สังเกตการแสดงออกของลูก รับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก สนใจที่ตอบคำถามและเล่าเรื่องต่างๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ทำให้ลูกรู้ภาษาเร็ว และมีกำลังใจใฝ่รู้- ทำตัวเป็นแบบอย่าง ที่จะปลูกฝังลักษณะนิสัย และความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ลูกรู้จักกาละเทศะ รู้ผิดรู้ชอบและคุ้นเคย กับสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อชีวิต
เอาใจใส่ให้เวลา
พ่อแม่จำเป็นต้องให้เวลา และเอาใจใส่ลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างกัน ความมั่นคงทางใจ มีความสำคัญมากต่อชีวิต และจิตใจของลูกๆ อาจจะเรียกได้ว่า เท่ากับอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การดูแลรักษายามเจ็บไข้ และการปกป้องจากอันตรายต่างๆ
เด็กมองเห็น ได้ยิน รู้จักตอบสนองต่อรส กลิ่น และสัมผัสตั้งแต่แรกเกิด เรียนรู้ได้เร็วจากคนที่ใกล้ชิด จากประสบการณ์และการกระทำของตนเอง พ่อแม่จึงต้องให้เวลาอยู่ใกล้ชิด มองหน้าสบตายิ้มแย้ม สัมผัสอย่างอ่อนโยน พูดคุยโต้ตอบ เล่นด้วยกัน จัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจและปลอดภัย ทำกิจกรรมต่างๆ กับลูกโดยคำนึงถึง ความสนใจ และความสามารถของลูก
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก
การอบรมเลี้ยงดูลูก ด้วยความรักความเมตตา ใช้เหตุผล อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีงาม จะช่วยให้ลูกมีจิตใจมั่นคง ไม่สับสน การฝึกให้ลูกเป็นคนรู้จักคิด มีน้ำใจ และคุณธรรม จะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพในอนาคต ส่วนเด็กที่ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกทำโทษรุนแรง จะมีปัญหาสุขภาพจิต และมีความประพฤติต่อต้านสังคม กลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าวได้
พ่อแม่สามารถจูงใจให้ลูก มีความใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกอย่าง เหมาะสม ตามกาลเทศะ โดยให้ความสนใจ ในสิ่งที่ลูกกำลังทำ ตอบคำถามของลูกได้ ฝึกให้ลูกได้ ฝึกให้ลูกหัด สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้โอกาสลูกที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน ซึ่งอาจจะแตกต่างกับความคิดของพ่อแม่ และให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ จากการลองถูกลองผิดบ้าง ในกรณีที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
สังเกตพัฒนาการตามวัย
ตามปกติเด็กวัยนี้ พัฒนาความสามารถด้านต่างๆ รวดเร็วมาก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก จึงจำเป็นจะต้องติดตาม สังเกตพฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดของลูก ว่า เปลี่ยนแปลงไป ตามวัย เท่าที่ควรหรือไม่ โดยศึกษา และบันทึกลงสมุดบันทึกสุขภาพ ประจำตัวเด็ก ควรปรับเปลี่ยน วิธีการอบรมเลี้ยงดู ให้เหมาะสมกับวัย เพศ และความสามารถของลูก โดยไม่เคี่ยวเข็ญจนเกินไป หากสงสัยว่า ลูกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย ควรให้โอกาสฝึกหัด อีกสัก 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากพ่อแม่พบลักษณะที่สงสัย หรือมีปัญหา ในการเลี้ยงดู ควรบอกเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ ลักษณะที่สงสัยว่าอาจผิดปกติ ได้แก่
การได้ยิน
ลูกไม่สะดุ้ง เวลามีเสียงดังใกล้ตัว อายุ 6 เดือน ไม่หันมองหา ตามเสียงเรียกชื่อ
การมองเห็น
เดือนแรกไม่มองหน้าอายุ 3 เดือน ไม่มองตามสิ่งของ หรือหน้าคน ที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าอายุ 6 เดือน ไม่คว้าของอายุ 9 เดือน ไม่หยิบของชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า
การเคลื่อนไหว
แขนขาขยับ ไม่เท่ากัน หรือเคลื่อนไหวน้อยอายุ 3 เดือน ยังไม่ชันคออายุ 5 เดือน ยังไม่คว่ำอายุ 9 เดือน ยังไม่นั่งอายุ 1 ขวบ ไม่เกาะยืนอายุเกิน 2 ขวบ ยังล้มง่าย งุ่มง่าม หรือเก้ๆ กังๆ
การรู้จักและใช้ภาษา
อายุ 10 เดือน ยังไม่เลียนเสียงพูดอายุ 1 ขวบ ยังไม่เลียนท่าทาง และยังพูดเป็นคำ ที่มีความหมายไม่ได้อายุ 1 ขวบครึ่ง ยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่พูดเป็นคำๆอายุ 3 ขวบ ยังไม่พูดโต้ตอบ เป็นประโยค
ปัญหาอื่นๆ เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ แยกตัว ซึมเศร้า ก้าวร้าว
ให้การศึกษาเพื่อชีวิต
เด็กวัยนี้จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัว เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กแรก เกิดถึงอายุ 3 ขวบ มักได้รับการดูแล อยู่ในบ้าน บางคนอาจได้รับการดูแล จากพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแล ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน พ่อแม่จึงควรเลือก บริการเลี้ยงลูก ที่สะอาด ปลอดภัย และมีกิจกรรมการเล่น และเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ พ่อแม่ก็ยังจำเป็น จะต้องติดตาม เอาใจใส่ ดูแลลูก อย่างใกล้ชิดด้วย
เมื่อลูก มีอายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่ควรพาไปเข้ากลุ่มเรียนรู้ จากครูและเพื่อน ในชั้นเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็ก เพิ่มขึ้นจากการอบรม เลี้ยงดูที่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ก่อนที่จะเข้าเรียน ชั้นประถมศึกษา ดังนี้
- ด้านร่างกาย เน้นความคล่องแคล่ว ในการเคลื่อนไหว และการใช้มือกับตา ให้ทำงานไปด้วยกัน ประสานกัน ในการวาด ปั้น และขีดเขียน- ด้านสติปัญญา เน้นการรับรู้ เรียนรู้ รู้จักแยกแยะ สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจใฝ่รู้- ด้านการเข้าใจ และการใช้ภาษา รู้และอธิบายความหมายของคำ และเรื่องราว เล่าเรื่อง และจับใจความสำคัญได้- ด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม มีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเอง รู้จักแบ่งปัน และทำตามระเบียบ รู้จักการรับ และให้ความช่วยเหลือ รู้จักขอบคุณ และขอโทษ
ทั้งนี้ ต้องระวัง อย่าปล่อยปละ จนลูกขาดโอกาสเรียนรู้ แต่ก็ต้องระวัง อย่าเร่งบังคับ ให้ลูกท่องจำ อ่านเขียน จนเคร่งเครียด เกินไป หรือจัดให้เรียนพิเศษ วิชาต่างๆ จนลูกล้า จะเป็นผลเสีย ต่อการพัฒนาความรู้คิด และสร้างสรรค์ของลูก
หัดให้รักและอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และสภาพแวดล้อม
ฝึกภาษาให้ถูกต้อง
พ่อแม่สามารถฝึกภาษาให้ลูกได้ ตั้งแต่แรกเป็นทารก หรือยังเล็กๆ อยู่ โดยพูดคุยกับลูก ด้วยภาษาที่ฟังเข้าใจง่าย และชัดเจน ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร โดยอาจจะใช้วิธี เล่านิทาน อ่านหนังสือ ชี้ให้ลูกดูภาพ หรือเล่าเรื่องเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และฝึกให้ลูกได้ฟัง และหัดพูดภาษาไทย ได้เรียนรู้ภาษาไทย สำหรับสื่อความหมาย และติดต่อกับคนอื่นๆ ได้ในสังคม ทั้งยังเป็นการสืบทอดภาษา อันเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติไทยอีกด้วย
พ่อแม่และผู้ใหญ่เอง จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และส่งเสริมให้ลูก พูดเป็นประโยค อย่างถูกต้อง ใช้คำที่เหมาะสมในการ พูดจาโต้ตอบ อธิบายความรู้สึกนึกคิด ของตน หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และตอบคำถาม อย่างได้ใจความ การเริ่มสอนภาษาไทยนั้น ควรเริ่มจากให้ลูกเห็น และเล่นตัวอักษรไทย และตัวเลขไทย ตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป เริ่มฝึกให้รู้จัก ตัวอักษร อ่านและขีดเขียน ทีละเล็กน้อย ราวอายุ 4-5 ขวบ ขึ้นไป ตามความพร้อมของลูก
รู้จักและรักในคุณค่าวัฒนธรรมไทย
เด็กๆ จะซึมซับค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี จากการกระทำของผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น มารยาททางสังคม เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การไหว้ การกินอยู่ การรู้จักสำรวม และเกรงใจ หรือแม้กระทั่ง เรื่องระเบียบวินัยทางสังคม การรักและชื่นชมธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ จะชี้ชวนให้ลูกสนใจ และปลูกฝัง ได้ไม่ยาก ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เขาดูและสนับสนุน ให้ลูกได้คิด และได้ทำ อย่างเหมาะสม เริ่มจากเล่านิทาน ร้องเพลงกล่อมลูก เล่นดนตรี ประดิษฐ์ของเล่นด้วยกัน เล่นการละเล่นพื้นบ้าน พาลูกร่วมกิจกรรม ทางสังคม และประเพณี ตามความเหมาะสม เมื่อลูกสนใจแล้ว เขาจะกระตือรือร้น ที่จะทำเองและพัฒนา เป็นนิสัยที่ดีต่อไป
ปลูกฝังคุณธรรม ระเบียบวินัย และแนวทางประชาธิปไตย
1 สนใจ เข้าใจ ไม่บังคับ
ช่วงอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก เขาจะอยากทำอะไร ด้วยตนเอง มักจะต่อต้านคำสั่ง หรือแสดงอารมณ์โกรธ เมื่อถูกขัดใจ เหล่านี้เป็นพัฒนาการปกติ ตามวัยของเขา หากพ่อแม่เข้าใจในข้อนี้ พยายามหลีกเลี่ยง การบังคับขู่เข็ญ หรือต่อล้อต่อเถียง ทำโทษรุนแรง แต่ใช้วิธีอบรมสั่งสอน ด้วยความเข้าใจ สนใจ ชมเชยเมื่อทำสิ่งที่ควร ช่วยเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ ตลอดจนให้โอกาสเข้าฝึกทำอะไรด้วยตนเองในขณะที่ผู้ใหญ่ยอมรับฟัง และแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยโดยไม่ใช้เสียงดัง หรือกำลังบังคับ ลูกก็จะเรียนรู้ไ้ด้ ด้วยตัวเอง ในที่สุด
2 สอนให้มีคุณธรรม ด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
การปลูกฝังการดำเนินชีวิต อย่างมีคุณธรรม ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างให้เห็น เช่น- จะปลูกฝัง การรักษาความจริง ผู้ใหญ่ต้องไม่หลอก หรือขู่เด็กเสียเอง- จะฝึกการไม่เบียดเบียนกัน ผู้ใหญ่ก็ต้องแสดงความรัก ความเมตตาต่อคนอื่นๆ ด้วยการให้อภัย ไม่ทำร้ายผู้อื่น ทั้งด้วยคำพูด หรือการกระทำ- ฝึกการรู้จักละอาย และควบคุมตัวเอง ต่อการทำความผิด สอนลูกไม่ให้ทำ ในสิ่งที่ไม่ควร- ฝึกหัดความรู้จักพอ ใช้จ่ายแต่สมควร ไม่ตามใจลูก จนไม่มีเหตุผล- ปลูกฝังและฝึกให้ลูก เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี โดยการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในครอบครัว สนใจทุกข์สุข และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งในยามสบาย และยามเจ็บป่วย- ฝึกให้ลูกเรียนรู้ ความต้องการของคนอื่น ไม่เอาแต่ใจตนเอง รู้จักรอ และมีส่วนช่วยเหลือ คนในครอบครัว ตามกำลังควา
พ่อแม่ช่วยส่งเสริมให้ลูก เป็นคนดี คนเก่งของครอบครัวและสังคมได้ โดย- ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ด้วยความรักและความเข้าใจ ทำให้ลูกมีจิตใจดี- ให้โอกาสลูกเรียนรู้ เล่น และฝึกทำสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเป็นมิตร ทำให้ลูกฉลาด คล่องแคล่ว และมีมานะอดทน- ยิ้มแย้ม สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน สังเกตการแสดงออกของลูก รับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก สนใจที่ตอบคำถามและเล่าเรื่องต่างๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ทำให้ลูกรู้ภาษาเร็ว และมีกำลังใจใฝ่รู้- ทำตัวเป็นแบบอย่าง ที่จะปลูกฝังลักษณะนิสัย และความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ลูกรู้จักกาละเทศะ รู้ผิดรู้ชอบและคุ้นเคย กับสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อชีวิต
เอาใจใส่ให้เวลา
พ่อแม่จำเป็นต้องให้เวลา และเอาใจใส่ลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างกัน ความมั่นคงทางใจ มีความสำคัญมากต่อชีวิต และจิตใจของลูกๆ อาจจะเรียกได้ว่า เท่ากับอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การดูแลรักษายามเจ็บไข้ และการปกป้องจากอันตรายต่างๆ
เด็กมองเห็น ได้ยิน รู้จักตอบสนองต่อรส กลิ่น และสัมผัสตั้งแต่แรกเกิด เรียนรู้ได้เร็วจากคนที่ใกล้ชิด จากประสบการณ์และการกระทำของตนเอง พ่อแม่จึงต้องให้เวลาอยู่ใกล้ชิด มองหน้าสบตายิ้มแย้ม สัมผัสอย่างอ่อนโยน พูดคุยโต้ตอบ เล่นด้วยกัน จัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจและปลอดภัย ทำกิจกรรมต่างๆ กับลูกโดยคำนึงถึง ความสนใจ และความสามารถของลูก
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก
การอบรมเลี้ยงดูลูก ด้วยความรักความเมตตา ใช้เหตุผล อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีงาม จะช่วยให้ลูกมีจิตใจมั่นคง ไม่สับสน การฝึกให้ลูกเป็นคนรู้จักคิด มีน้ำใจ และคุณธรรม จะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพในอนาคต ส่วนเด็กที่ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกทำโทษรุนแรง จะมีปัญหาสุขภาพจิต และมีความประพฤติต่อต้านสังคม กลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าวได้
พ่อแม่สามารถจูงใจให้ลูก มีความใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกอย่าง เหมาะสม ตามกาลเทศะ โดยให้ความสนใจ ในสิ่งที่ลูกกำลังทำ ตอบคำถามของลูกได้ ฝึกให้ลูกได้ ฝึกให้ลูกหัด สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้โอกาสลูกที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน ซึ่งอาจจะแตกต่างกับความคิดของพ่อแม่ และให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ จากการลองถูกลองผิดบ้าง ในกรณีที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
สังเกตพัฒนาการตามวัย
ตามปกติเด็กวัยนี้ พัฒนาความสามารถด้านต่างๆ รวดเร็วมาก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก จึงจำเป็นจะต้องติดตาม สังเกตพฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดของลูก ว่า เปลี่ยนแปลงไป ตามวัย เท่าที่ควรหรือไม่ โดยศึกษา และบันทึกลงสมุดบันทึกสุขภาพ ประจำตัวเด็ก ควรปรับเปลี่ยน วิธีการอบรมเลี้ยงดู ให้เหมาะสมกับวัย เพศ และความสามารถของลูก โดยไม่เคี่ยวเข็ญจนเกินไป หากสงสัยว่า ลูกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย ควรให้โอกาสฝึกหัด อีกสัก 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากพ่อแม่พบลักษณะที่สงสัย หรือมีปัญหา ในการเลี้ยงดู ควรบอกเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ ลักษณะที่สงสัยว่าอาจผิดปกติ ได้แก่
การได้ยิน
ลูกไม่สะดุ้ง เวลามีเสียงดังใกล้ตัว อายุ 6 เดือน ไม่หันมองหา ตามเสียงเรียกชื่อ
การมองเห็น
เดือนแรกไม่มองหน้าอายุ 3 เดือน ไม่มองตามสิ่งของ หรือหน้าคน ที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าอายุ 6 เดือน ไม่คว้าของอายุ 9 เดือน ไม่หยิบของชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า
การเคลื่อนไหว
แขนขาขยับ ไม่เท่ากัน หรือเคลื่อนไหวน้อยอายุ 3 เดือน ยังไม่ชันคออายุ 5 เดือน ยังไม่คว่ำอายุ 9 เดือน ยังไม่นั่งอายุ 1 ขวบ ไม่เกาะยืนอายุเกิน 2 ขวบ ยังล้มง่าย งุ่มง่าม หรือเก้ๆ กังๆ
การรู้จักและใช้ภาษา
อายุ 10 เดือน ยังไม่เลียนเสียงพูดอายุ 1 ขวบ ยังไม่เลียนท่าทาง และยังพูดเป็นคำ ที่มีความหมายไม่ได้อายุ 1 ขวบครึ่ง ยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่พูดเป็นคำๆอายุ 3 ขวบ ยังไม่พูดโต้ตอบ เป็นประโยค
ปัญหาอื่นๆ เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ แยกตัว ซึมเศร้า ก้าวร้าว
ให้การศึกษาเพื่อชีวิต
เด็กวัยนี้จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัว เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กแรก เกิดถึงอายุ 3 ขวบ มักได้รับการดูแล อยู่ในบ้าน บางคนอาจได้รับการดูแล จากพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแล ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน พ่อแม่จึงควรเลือก บริการเลี้ยงลูก ที่สะอาด ปลอดภัย และมีกิจกรรมการเล่น และเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ พ่อแม่ก็ยังจำเป็น จะต้องติดตาม เอาใจใส่ ดูแลลูก อย่างใกล้ชิดด้วย
เมื่อลูก มีอายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่ควรพาไปเข้ากลุ่มเรียนรู้ จากครูและเพื่อน ในชั้นเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็ก เพิ่มขึ้นจากการอบรม เลี้ยงดูที่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ก่อนที่จะเข้าเรียน ชั้นประถมศึกษา ดังนี้
- ด้านร่างกาย เน้นความคล่องแคล่ว ในการเคลื่อนไหว และการใช้มือกับตา ให้ทำงานไปด้วยกัน ประสานกัน ในการวาด ปั้น และขีดเขียน- ด้านสติปัญญา เน้นการรับรู้ เรียนรู้ รู้จักแยกแยะ สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจใฝ่รู้- ด้านการเข้าใจ และการใช้ภาษา รู้และอธิบายความหมายของคำ และเรื่องราว เล่าเรื่อง และจับใจความสำคัญได้- ด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม มีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเอง รู้จักแบ่งปัน และทำตามระเบียบ รู้จักการรับ และให้ความช่วยเหลือ รู้จักขอบคุณ และขอโทษ
ทั้งนี้ ต้องระวัง อย่าปล่อยปละ จนลูกขาดโอกาสเรียนรู้ แต่ก็ต้องระวัง อย่าเร่งบังคับ ให้ลูกท่องจำ อ่านเขียน จนเคร่งเครียด เกินไป หรือจัดให้เรียนพิเศษ วิชาต่างๆ จนลูกล้า จะเป็นผลเสีย ต่อการพัฒนาความรู้คิด และสร้างสรรค์ของลูก
หัดให้รักและอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และสภาพแวดล้อม
ฝึกภาษาให้ถูกต้อง
พ่อแม่สามารถฝึกภาษาให้ลูกได้ ตั้งแต่แรกเป็นทารก หรือยังเล็กๆ อยู่ โดยพูดคุยกับลูก ด้วยภาษาที่ฟังเข้าใจง่าย และชัดเจน ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร โดยอาจจะใช้วิธี เล่านิทาน อ่านหนังสือ ชี้ให้ลูกดูภาพ หรือเล่าเรื่องเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และฝึกให้ลูกได้ฟัง และหัดพูดภาษาไทย ได้เรียนรู้ภาษาไทย สำหรับสื่อความหมาย และติดต่อกับคนอื่นๆ ได้ในสังคม ทั้งยังเป็นการสืบทอดภาษา อันเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติไทยอีกด้วย
พ่อแม่และผู้ใหญ่เอง จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และส่งเสริมให้ลูก พูดเป็นประโยค อย่างถูกต้อง ใช้คำที่เหมาะสมในการ พูดจาโต้ตอบ อธิบายความรู้สึกนึกคิด ของตน หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และตอบคำถาม อย่างได้ใจความ การเริ่มสอนภาษาไทยนั้น ควรเริ่มจากให้ลูกเห็น และเล่นตัวอักษรไทย และตัวเลขไทย ตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป เริ่มฝึกให้รู้จัก ตัวอักษร อ่านและขีดเขียน ทีละเล็กน้อย ราวอายุ 4-5 ขวบ ขึ้นไป ตามความพร้อมของลูก
รู้จักและรักในคุณค่าวัฒนธรรมไทย
เด็กๆ จะซึมซับค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี จากการกระทำของผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น มารยาททางสังคม เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การไหว้ การกินอยู่ การรู้จักสำรวม และเกรงใจ หรือแม้กระทั่ง เรื่องระเบียบวินัยทางสังคม การรักและชื่นชมธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ จะชี้ชวนให้ลูกสนใจ และปลูกฝัง ได้ไม่ยาก ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เขาดูและสนับสนุน ให้ลูกได้คิด และได้ทำ อย่างเหมาะสม เริ่มจากเล่านิทาน ร้องเพลงกล่อมลูก เล่นดนตรี ประดิษฐ์ของเล่นด้วยกัน เล่นการละเล่นพื้นบ้าน พาลูกร่วมกิจกรรม ทางสังคม และประเพณี ตามความเหมาะสม เมื่อลูกสนใจแล้ว เขาจะกระตือรือร้น ที่จะทำเองและพัฒนา เป็นนิสัยที่ดีต่อไป
ปลูกฝังคุณธรรม ระเบียบวินัย และแนวทางประชาธิปไตย
1 สนใจ เข้าใจ ไม่บังคับ
ช่วงอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก เขาจะอยากทำอะไร ด้วยตนเอง มักจะต่อต้านคำสั่ง หรือแสดงอารมณ์โกรธ เมื่อถูกขัดใจ เหล่านี้เป็นพัฒนาการปกติ ตามวัยของเขา หากพ่อแม่เข้าใจในข้อนี้ พยายามหลีกเลี่ยง การบังคับขู่เข็ญ หรือต่อล้อต่อเถียง ทำโทษรุนแรง แต่ใช้วิธีอบรมสั่งสอน ด้วยความเข้าใจ สนใจ ชมเชยเมื่อทำสิ่งที่ควร ช่วยเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ ตลอดจนให้โอกาสเข้าฝึกทำอะไรด้วยตนเองในขณะที่ผู้ใหญ่ยอมรับฟัง และแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยโดยไม่ใช้เสียงดัง หรือกำลังบังคับ ลูกก็จะเรียนรู้ไ้ด้ ด้วยตัวเอง ในที่สุด
2 สอนให้มีคุณธรรม ด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
การปลูกฝังการดำเนินชีวิต อย่างมีคุณธรรม ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างให้เห็น เช่น- จะปลูกฝัง การรักษาความจริง ผู้ใหญ่ต้องไม่หลอก หรือขู่เด็กเสียเอง- จะฝึกการไม่เบียดเบียนกัน ผู้ใหญ่ก็ต้องแสดงความรัก ความเมตตาต่อคนอื่นๆ ด้วยการให้อภัย ไม่ทำร้ายผู้อื่น ทั้งด้วยคำพูด หรือการกระทำ- ฝึกการรู้จักละอาย และควบคุมตัวเอง ต่อการทำความผิด สอนลูกไม่ให้ทำ ในสิ่งที่ไม่ควร- ฝึกหัดความรู้จักพอ ใช้จ่ายแต่สมควร ไม่ตามใจลูก จนไม่มีเหตุผล- ปลูกฝังและฝึกให้ลูก เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี โดยการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในครอบครัว สนใจทุกข์สุข และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งในยามสบาย และยามเจ็บป่วย- ฝึกให้ลูกเรียนรู้ ความต้องการของคนอื่น ไม่เอาแต่ใจตนเอง รู้จักรอ และมีส่วนช่วยเหลือ คนในครอบครัว ตามกำลังควา
เมื่อคุณต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
เมื่อคุณต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
หากเปรียบร่างกายกับครอบครัว ทุกคนคงต้องการ เกิดมามีร่างกายครบบริบูรณ์ ร่างกายที่มีทั้งแขน ขา จมูก ปาก เฉกเช่นเดียวกับครอบครัว ทุกคนต่างต้องการ มีครอบครัวที่ครบบริบูรณ์ ครอบครัวที่มีทั้งพ่อ แม่ ลูก แต่หากครอบครัวใด ที่ต้องพิการ คือขาดพ่อ หรือแม่ไป ครอบครัวเหล่านั้น ก็ยังสามารถสร้างครอบครัว ให้มีคุณภาพ สร้างครอบครัว ให้ผาสุกได้ หากเพียงแต่สมาชิกในครอบครัว เรียนรู้ที่จะดำเนินครอบครัว อย่างสอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ ให้ดีที่สุด
ครอบครัวที่พ่อหรือแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว
หลายๆ ครอบครัว ที่พ่อหรือแม่ ต้องไปทำงานไกลๆ เป็นระยะเวลานาน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เสียชีวิต หรือหย่าร้างกัน ทำให้คนใดคนหนึ่ง ต้องรับภาระ ในการเลี้ยงดูลูกคนเดียว จากครอบครัว ที่เคยอยู่ พร้อมหน้าพร้อมตากัน ก็เหลือเพียง พ่อหรือแม่ กับลูก ผลที่เกิดจากการที่ลูก ต้องมีพ่อแม่ เพียงคนเดียว จะทำให้ลูก เกิดความรู้สึกเศร้า หดหู่ และเสียใจ ที่พ่อหรือแม่ ต้องพลัดพรากจากไป ลูกจะมีความรู้สึกว่า ชีวิตไม่มั่นคง ไม่มีหลักประกันในชีวิต และรู้สึกว่า เขาไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถคุ้มครองตนเองได้ ซึ่งเขาจะรู้สึกกลัว และอ่อนแอ ขาดความยอมรับนับถือตนเอง ว่ามีคุณค่า และอาจกลายเป็นเด็กขาดรัก ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกต่อไป
เตรียมความพร้อมลูกให้ยอมรับการพลัดพราก
ก่อนที่พ่อหรือแม่ต้องพลัดพรากจากลูก จะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อน เพื่อป้องกันปัญหา ที่จะเกิดต่อเนื่องตามมา วิธีการเตรียมความพร้อม ให้กับลูกนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการแยกกันอยู่ ของพ่อแม่ ซึ่งมีอยู่หลายกรณีด้วยกัน
กรณีที่พ่อหรือแม่ ต้องพลัดพรากจากไปชั่วคราว หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องไปทำงานในที่ไกลๆ เป็นระยะเวลานาน พ่อหรือแม่ที่จะไป ควรจะรักษาสัมพันธภาพ ให้มีการติดต่อสื่อสารกับลูก อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกรู้สึกว่า 'แม้กายห่างไกล แต่ใจยังอยู่ใกล้' ซึ่งต้องมีการติดต่อกับลูก อย่างสม่ำเสมอ และควรจะพยายาม หาทางมาพบลูกบ้าง ส่วนพ่อหรือแม่ ที่อยู่กับลูก ควรจะทำให้ลูกมั่นใจเสมอว่า คนที่จากไปนั้น จะต้องกลับมาแน่นอน
กรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต จะต้องมีการบำบัดฟื้นฟู สภาพจิตใจของลูก (และพ่อหรือแม่ ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย) เพราะลูกไม่สามารถยอมรับ หรือเข้าใจ หากพ่อหรือแม่ เสียชีวิต ตั้งแต่ลูก อายุไม่เกิน 6 เดือน อาจจะไม่มีผลมากนัก ซึ่งอาจจะไม่ต้องทำการบำบัด เพราะลูกยังไม่มี Attachment (ความผูกพัน) กับใคร แต่อย่างไรก็ดี ลูกจะมีความสูญเสีย ซึ่งจะต้องทำให้ลูกรู้ว่า เขายังมีคนที่รัก และดูแลเขาเสมอ แต่หากลูกโตพอ ที่จะรู้ว่าพ่อหรือแม่ตาย จะต้องมีกระบวนการ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Cognitive Processing) เพื่อให้ลูก ยอมรับความเป็นจริงให้ได้ว่า พ่อหรือแม่ ไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว และลูกยังมีพ่อหรือแม่ ที่ยังอยู่ที่จะรักลูก และอยู่กับลูก พร้อมที่จะดูแลลูก ตลอดไป
กรณีที่พ่อแม่หย่ากัน เพราะเข้ากันไม่ได้ ก่อนหย่า พ่อและแม่ ต้องชี้ให้ลูกเห็นว่า คนเรา ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา ให้เด็กรู้ว่า ความเป็นสามีภรรยา และความเป็นพ่อแม่นั้น แยกออกจากกัน ถึงแม้ว่า ความเป็นสามีภรรยา จะสิ้นสุดลง แต่ความเป็นพ่อแม่ ยังคงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น พ่อกับแม่ยังคงเป็นพ่อกับแม่ ของลูกอยู่เสมอ
กรณีที่พ่อแม่หย่ากัน เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไปมีคนอื่น ลูกจะยอมรับไม่ได้ จะมีอาการปฏิเสธต่อต้าน คนที่แยกออกไป ซึ่งจะต้อง ทำการบำบัดฟื้นฟูเด็ก เพราะลูกจะไม่เข้าใจ ไม่สามารถยอมรับได้ และเกิดความรู้สึก ไม่มั่นคงทางจิตใจ (insecure) ลูกจะรู้สึก เก็บกดรุนแรง และรู้สึกว่า ตนเองไม่มีค่า ซึ่งเขาจะแสดงออกมา ในลักษณะโกรธ เกลียด แต่ลึกๆ แล้ว เขาต้องการความรักจากคนๆ นั้น
พ่อหรือแม่คนเดียวจะเลี้ยงลูกอย่างไร
ก่อนอื่น ต้องสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ให้ตนเองก่อนว่า ความขัดแย้งระหว่างเรา กับคู่ครอง ไม่ใช่เรื่อง ที่ลูกต้องเข้ามา ร่วมรับผิดชอบ พยายามวางตัวเป็นกลาง เมื่อจำเป็นต้องพูดถึง ฝ่ายตรงข้าม และงดเว้น การวิพากษ์วิจารณ์ อดีตคู่ครอง ให้ลูกฟัง และสอนให้ลูก หัดมองบุคคลอื่น ในทางบวก
นอกจากนี้ การที่พ่อหรือแม่คนเดียว จะเลี้ยงลูกให้มีคุณภาพได้นั้น ยังต้องสอดคล้องกับเพศ และวัย ของลูกอีกด้วย
วัยเด็กเล็ก (แรกเกิด-6 ปี) ในช่วงแรกของชีวิตลูก
พ่อหรือแม่ที่อยู่กับลูก จะต้องแสดงบทบาทที่ครบวงจร ในฐานะที่เป็น ทั้งพ่อและแม่
วัยก่อนวัยรุ่น (7-12 ปี)
ลูกจะเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศ และเริ่มสะสม การพัฒนาการเรื่องเพศ เพราะฉะนั้น ลูกควรจะได้เรียนรู้ ความสัมพันธ์ของแต่ละเพศ ในครอบครัว กรณีนี้ หากพ่ออยู่กับลูกชาย ให้พยายามหาคน มาแสดงบทบาทของผู้หญิง มาช่วยให้ลูกเรียน และเสริมบทบาททดแทน เช่น ย่า ยาย ป้า น้า อา แต่ถ้า แม่อยู่กับลูกสาว ให้หาคน มาแสดงบทบาทผู้ชาย มาช่วยให้ลูกเรียนรู้ และเสริมบทบาททดแทน เช่น ปู่ ตา ลุง น้า อา แต่ถ้า แม่อยู่กับลูกชาย หรือพ่ออยู่กับลูกสาว ให้หาคนเพศเดียวกับลูก มาชดเชย ในส่วนที่พ่อหรือแม่ ขาดไป เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ ถึงบทบาทของเพศตนเอง ซึ่ง gender (ความสัมพันธ์ของคน ที่มีเพศที่แตกต่างกัน) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับพัฒนาการ ด้านครอบครัวของเด็ก เขาจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้ตนเอง มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเพศตน รวมทั้งการปรับตัว ให้สามารถดำเนินชีวิต กับเพศตรงข้าม ได้อย่างสอดคล้อง และมีสมดุล
วัยรุ่น (13 ปีขึ้นไป)
ลูกจะต้องการคน guidance คือ คนชี้แนะ มากกว่าคนสอน เพราะช่วงวัยนี้ จะเป็นวัยที่ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ซึ่งพ่อหรือแม่ที่อยู่กับเขา ต้องพึงระวัง ไม่ไปจุกจิกจู้จี้กับลูก มากจนเกินไป ส่วนใหญ่พ่อแม่รายเดียว ที่อยู่กับลูก อาจจะรักลูก มากเกินไป เพื่อทดแทน คนที่เขาเสียไป อาจทำให้เข้าไป จู้จี้กับลูกมาก ดังนั้น พ่อแม่ควรจะทบทวน และวิเคราะห์ตัวเองด้วย นอกจากนั้น พ่อหรือแม่ ไม่ควรนำความเลวร้าย ของอีกฝ่ายหนึ่ง มาพูดให้ลูกฟัง โดยเด็ดขาด เพราะลูกวัยรุ่น จะอ่อนไหวมาก อาจทำให้ลูก ไม่ต้องการอยู่บ้าน และเกิดปัญหาตามมาได้
เพียงเท่านี้ ครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ก็จะกลายเป็นครอบครัว ที่สมบูรณ์ได้ หากเพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ ได้เตรียมตัว และวางแผนในการเลี้ยงดูลูก เอาไว้อย่างรอบคอบ ในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่ ได้เตรียมตัวล่วงหน้า นอกจากครอบครัว จะสูญเสีย คนใดคนหนึ่งไปแล้ว อาจจะต้องสูญเสีย สมาชิกในครอบครัว คนอื่นไปด้วย เพียงเพราะความไม่เข้าใจ ซึ่งจะนำพาปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
แล้วเมื่อนั้น...คุณจะหาความผาสุกในครอบครัวได้หรือ?
อ้างอิง: กรุงเทพธุรกิจ
ความฉลาดสำหรับโลกอนาคต
เคยสงสัยไหมคะว่า คนที่จะอยู่ต่อไปในโลกอย่างดีในโลกยุคหน้า ต้องมีคุณสมบัติ หรือลักษณะอย่างไรบ้าง...และเราจะเตรียมลูกของเราอย่างไรให้เขาดำรงอยู่ได้ ไม่ใช่แค่อยู่รอดได้นะคะ แต่อยู่ได้อย่างสง่างาม ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขามุ่งหวัง แถมยังมีความสุข และเหลือเวลาพร้อมด้วยทรัพย์สินที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้อีกต่างหาก..
แต่เราจะทำอย่างไรดีคะ ที่จะให้เด็กๆ ของเรามีความพร้อมที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ในเวลาที่เราไม่ได้อยู่ดูแลเขาอีกต่อไปแล้ว คำถามนี้ มีคนๆ หนึ่งลองตอบได้น่าสนใจมาก...ท่านอาจารย์คนเก่งของหนูดีเอง ที่ฮาร์วาร์ด ชื่อ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ เพิ่งเขียนหนังสือเล่มใหม่เอี่ยม ชื่อ Five Mind for the Future ซึ่งท่านเซ็นชื่อหน้าปกและส่งมาอ่านให้หนูดีอ่านเล่นที่บ้าน แทนคำขอบคุณที่หนูดีส่ง “ผ้าพันคอไหมไทย” ไปให้ท่านสวมหน้าหนาว ...ซึ่งจริงๆ แล้ว ผ้าผืนนั้น เป็นผ้าปูโต๊ะขนาดเล็กและยาวค่ะ หนูดีเห็นท่านพันคอไปแล้วเลยไม่กล้าแก้ความเข้าใจผิดกับท่าน...แต่แอบเอามาเขียนถึงดีกว่าค่ะ แก้คิดถึง
หนังสือเล่มนี้สนุกมาก...อ่านเพลินเลย เพราะอาจารย์หนูดีชวนคุยว่าในโลกยุคหน้า คนเราต้องเก่งด้านไหนบ้าง ต้องคิดถึงให้ได้แบบไหนบ้างถึงจะอยู่รอดอย่างประสบความสุขความสำเร็จสูงที่สุดด้วย ถึงแม้ท่านจะเป็นเจ้าของทฤษฎีเรื่องอัจฉริยภาพหลายประการ แต่ท่านไม่ได้พูดถึงอัจฉริยภาพเป็นเรื่องใหญ่เลย
มาดูกันไหมคะว่า มีความฉลาดอะไรบ้างที่เราน่าฝึกลูกๆ (และรวมถึงตัวเราด้วย) ให้เก่งกาจ...แต่ดูแล้ว ให้ยึดหลักกาลามสูตรนะคะ ว่าอย่าเชื่อไปทั้งหมด ในห้าความคิดนี้ อาจจะมีด้านที่หก ที่คนเขียนมองพลาดไปแล้วลืมเขียน อาจจะมีด้านไหนที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะไม่น่าจะจำเป็นทั้งห้าด้านเลยก็ได้ค่ะ...การอ่านไป ตั้งคำถามไป เป็นนิสัยที่หนูดีถูกอาจารย์ท่านนี้ล่ะค่ะ ฝึกมาตลอดปีเลยว่า ห้ามเชื่อทฤษฎีไหนง่ายๆ แค่เพราะมันน่าเชื่อ อย่าเชื่อแค่เพราะอาจารย์เราเป็นคนบอก อย่าเชื่อแค่เพราะคนพูดเป็นคนดัง ฯลฯ... เพราะหากเราฝึกคิดแบบนี้ แล้วเห็นช่องโหว่ได้...วันหนึ่งเราเอง ก็อาจเป็นคนคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ มาอุดช่องโหว่นั้นเองก็ได้นะคะ
Disciplined Mind สมองคิดเก่งในสาขาที่เราเลือก
ความคิด ความเก่ง และทักษะแรกนี้จำเป็นมากค่ะ...เมื่อเราเลือกเรียนอะไร เลือกทำอาชีพอะไร เราจำเป็นต้องเก่งและรู้รอบในสาขาวิชาชีพเราให้มากและดีที่สุด เช่น ถ้าเราเลือกเป็นหมอ ก็ให้เป็นหมอที่เก่งมากๆ เลือกเป็นคนขายต้นไม้ ก็ต้องเชี่ยวชาญรู้จักต้นไม้ทุกชนิดทุกพันธุ์ รู้จักการเลี้ยงดู การเพาะ ให้ครบถ้วน เพราะในการที่เราจะเก่งรอบด้านได้ เราต้องเก่งลึกก่อน คือ รู้ให้หมด ในสิ่งที่เป็นของเราอย่างแท้จริง
ดังนั้นตอนเลือกหนแรกที่นี่ล่ะค่ะที่สำคัญ เพราะนี่คือบ้านหลังแรกของเราเป็นบ้านที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด..และการเลือกสาขาที่จะเรียนนี้เราก็ต้องย้อนมาดูที่ความชอบหรือความถนัดของเราว่า มันคืออะไร ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลค่ะ บางคนบอกว่า การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องยากนั้น มักเป็นคนที่เลือกวิธีผิด คือการวิ่งไปมา ทุกที่เพื่อหาตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเขาก็อยู่ที่นั่น รอเขาอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น หน้าที่แรกที่เราต้องฝึกให้ลูกก็คือ การนิ่งและมองให้ดีว่าอัจฉริยภาพที่เรามีติดตัวมาคืออะไร และเราจะพัฒนาเขาต่อไปได้อย่างไร มันอาจจะเป็นด้านดนตรี ภาษา ธรรมชาติ ฯลฯ หรืออาจจะหลายด้านรวมกันก็ได้ค่ะ
Synthesizing Mind สมองคิดสังเคราะห์ข้อมูล
นั่นแน่...เก่งด้านเดียวไม่พอแล้วสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ เพราะว่าคำว่า “รู้อะไรกระจ่างแม้อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” หนูดีต้องขอต่ออีกหน่อยว่า รู้ให้กระจ่างสักสองสามอย่างจะดีกว่าค่ะ สมองของเราไหว สบายอยู่แล้ว...โดยเฉพาะสมองเด็กๆ เพราะเขาชอบเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน
ในโลกยุคหน้า คนทำงานส่วนใหญ่จะมีโอกาสเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยคนละห้าครั้งเชียวนะคะ เราเรียนจบมาด้านไหน หลายคนก็ไม่ได้ทำงานด้านนั้น หรืองงานหลายอาชีพก็ต้องใช้ความรู้หลายสาขาวิชามารวมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนูดีเลยค่ะ อาชีพหนูดีเป็นสาขาใหม่เรียนว่า Mind, Brain, and Education จะว่าหนูดีเป็นหมอ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว จะวาหนูดีเป็นนักจิตวิทยา ก็ไม่เชิง จะว่าเป็นนักการศึกษา ก็ไม่ใช่ทั้งหมด... และนี้เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากค่ะ ฝันยุคนี้ คือ การเกิดอาชีพใหม่ๆ จากการนำอาชีพดั้งเดิมมาผสมกัน ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่พวกเราสะสมกันไว้ในฐานะมนุษยชาตินั้นเยอะมาก การจำกัดตัวเองไว้ในกรอบวิชาเดียว จึงเป็นการจำกัดศักยภาพมนุษย์ ดังนั้น คนเก่งยุคหน้า เลยควรรู้หลายสาขาเพื่ออุดช่องโหว่ของสาขาวิชาเดียว...ในโลกยุคของลูกเรา เราคงได้เห็นอาชีพแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ...น่าตื่นเต้นดีนะคะ
Creating Mind สมองคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ
รู้รอบหลายสาขาวิชา...ที่สำคัญที่สุด คือการคิดค้นสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ค่ะ เพราะการรู้อย่างเดียว...รู้แล้วความเก่งจบลงแค่ที่ตัวเราก็น่าเสียดาย แต่ถ้าหากเราสามารถนำความเก่งนั้น มาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้โลกได้ คงคุ้มค่าน่าดูค่ะ ...เพราะฉะนั้น หากเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราอาจคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้วงการศิลปะก็ได้ เช่น หนูดีเพิ่งเห็นนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง คิดค้นนำขยะดีๆ มาผลิตเป็นกระเป๋าดีไซน์สวย น่าใช้เชียว... นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการคิดไดเยี่ยมสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ
เพราะถ้าแค่รู้ข้อมูล... เราก็ฝึกลูกหรือลูกศิษย์ให้เป็นได้ก็แค่เพียงผู้บริโภคข้อมูล แต่ข้อมูลจะมีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกเสพก็เมื่อเราสามารถเอาสมองของเราเป็นเครื่องแปลและแปลข้อมูลได้ เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์แบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
Respectful Mind สมองคิดให้เกียรติคน
ฉลาดแล้ว ทักษะเยี่ยมแล้ว... ไม่น่าจะพอแน่ๆ สำหรับโลกยุคหน้า เพราะการให้เกียรติคนและการถ่อมตัว เป็นนิสัยที่อัจฉริยะทุกคนต้องฝึกให้มีค่ะ... หนูดีเข้าเรียนฮาร์วาร์ดวันแรก สิ่งแรกที่ได้ยินคือปีนี้ขอให้นักเรียนใหม่ทุกคน ฝึกนิสัยให้เป็นคนถ่อมตัว เพราะคนเก่งที่ให้เกียรติใครไม่เป็น... ในที่สุดแล้วไม่มีใครอยากให้เกียรติเขา และผลงานดีๆ ก็จะมีออกมาไม่ได้ เพราะหาเพื่อนเก่งๆ ดีๆ ร่วมทำงานวิจัยด้วยไม่ได้เป็นคำสอนที่มีค่ามาก... เพราะวันหนึ่งที่เราเป็นคนเก่งมาก ก็จะมีคนชมมาก หากเราไม่รู้จักการประมาณใจให้ถ่อมตัวเสมอ เราก็จะเหลิงและลืมไปว่าทุกคนในโลกนี้คืออัจฉริยะทั้งนั้น ทุกคนเก่งทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เขาเก่งด้านไหนเท่านั้นเอง... ว่าไปแล้ว บทเรียนการถ่อมตัวถ่อมใจ เป็นหนึ่งในบทเรียนที่หนูดีถือว่ามีค่าที่สุดจากฮาร์วาร์ดค่ะ
Ethical Mind สมองคิด มีคุณธรรม เห็นความเชื่อมโยงถึงการกระทำของเรากับผู้อื่น
คนเก่งทีได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมในยุคนี้ ไม่ใช้คนที่แค่ประสบความสำเร็จเรื่องงาน หาเงินได้เยอะเท่านั้นนะคะ แต่คนที่ใครๆ รักและชื่นชม มักเป็นคนเก่งที่คิดถึงสังคมโดยรวมเป็น... บางคนเรียกทักษะนี้ว่า “คุณธรรม” แต่หนูดีชอบเรียกว่า “การเห็นว่า พฤติกรรมของเรามีผลกระทบได้ทั้งทางดีลางร้ายกับผู้อื่น”
การคิดแบบให้เกียรตินั้น เรามักจะทำกับอื่นอีกคนเดียว แต่การคิดแบบ “คุณธรรม” จะเป็นการคิดถึงคนเป็นร้อย เป็นหมั่น เป็นล้านเลยทีเดียวว่า การกระทำของเราจะกระทบกับคนอื่นอย่างไร....เช่น หากวันหนึ่ง เราได้เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราจะทำอย่างไรกับน้ำเสียของโรงงาน หากเราได้เป็นนักการเมือง เราจะทำอะไรกับเงินภาษีปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน คนเก่งแบบนี้ มีตัวอย่างที่ดีคือ คุณบิล เกตส์ ซึ่งรวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายผี แต่ทุกวันนี้ ชีวิตของเราเป็นการกุศลและมีเป้าหมายว่า อยากบริจาคเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ทำเป็นโครงการต่างๆ ที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้น... น่าทึ่งมากนะคะ ที่คนๆ หนึ่ง สร้างอาณาจักรมหึมานี้มาจากศูนย์ และวันหนึ่งจะนำเงินจากแหล่งนี้กลับคืนให้โลก
โลกยุคหน้า คงไม่ใช่โลกที่น่าอยู่นัก หากแต่ละคนคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ในการเป็นพ่อแม่ที่ดี คงไม่ใช่แค่การสอนให้ลูกเก่งวิชา สอบได้เกรดสี่เท่านั้น แต่เป็นการสอนให้เขาใช้สมองเขาได้เต็มคุณค่า และรู้ว่าจะใช้สมองนั้นไปทำไมทั้งเพื่อตัวเองและเพื่อสังคม... เป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายเลยนะคะ แต่หนูดีว่า การเลี้ยงลูกให้ดี เป็นการให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับโลกแล้วค่ะ... นี่เป็นคำที่หนูดีได้ยินเสมอจากแม่ของหนูดีว่า หนูดีเป็นของขวัญมีค่าที่สุดที่แม่มอบให้โลก... และหนูดีเชื่อว่า พ่อแม่คนไหนคิดได้แบบนี้ไม่มีทางที่จะเลี้ยงลูกผิดพลาดค่ะ และเด็กคนนั้นจะมีความสุขมากกับความเก่งของเขา
Brain Tips
เทคนิคสนุกๆ อันหนึ่งของการสอนลูกให้ถ่อมตัว คือ การให้เขาลองเรียนอะไรใหม่ๆ ทุกปี โดยอาจจะคงกิจกรรมด้วยเดิมไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเขาเรียนบัลเลย์อยู่ก็ให้เรียนต่อเนื่อง แต่ปีนี้อาจให้เพิ่มเรียนศิลปะ ปีหน้าให้ลองเรียนเต้นละติน อีกปีให้ลองเรียนเทควันโด.. เปลี่ยนไปเรื่อยๆ บ้างค่ะ เพราะเด็กๆ จะไดใช้กล้ามเนื้อมัดที่แปลกออกไป ได้ลองก้าว ลองหมุนตัวแบบที่ไม่เคยหมุน... แต่ประโยชน์ที่แท้จริงคือ การที่เขาจะรู้ว่า โลกนี้ยังมีคนเก่งอีกเยอะแยะ มากมายหลายแบบ...และเราไม่ใช่คนเดียวในโลกที่เก่ง...ถ้าทำได้แบบนี้ เขาจะมีคนให้ทึ่งใหม่ๆ ทุกปี ว่า ครูคนนี้ปั้นดินเก่งจัง โอ้โห เพื่อนใหม่คนนี้ หมุนตัวตามจังหวะซัลซ่าได้ตั้งสามรอบ ในขณะที่เขาหมุนแล้วเซทั้งๆ ที่ในห้องบัลเลย์เขาคือ เด็กเก่งที่สุด...ให้เด็กลองด้วยตัวเองแบบนี้ รับรอง ถ่อมตัวอย่างน่ารักและเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ
แต่เราจะทำอย่างไรดีคะ ที่จะให้เด็กๆ ของเรามีความพร้อมที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ในเวลาที่เราไม่ได้อยู่ดูแลเขาอีกต่อไปแล้ว คำถามนี้ มีคนๆ หนึ่งลองตอบได้น่าสนใจมาก...ท่านอาจารย์คนเก่งของหนูดีเอง ที่ฮาร์วาร์ด ชื่อ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ เพิ่งเขียนหนังสือเล่มใหม่เอี่ยม ชื่อ Five Mind for the Future ซึ่งท่านเซ็นชื่อหน้าปกและส่งมาอ่านให้หนูดีอ่านเล่นที่บ้าน แทนคำขอบคุณที่หนูดีส่ง “ผ้าพันคอไหมไทย” ไปให้ท่านสวมหน้าหนาว ...ซึ่งจริงๆ แล้ว ผ้าผืนนั้น เป็นผ้าปูโต๊ะขนาดเล็กและยาวค่ะ หนูดีเห็นท่านพันคอไปแล้วเลยไม่กล้าแก้ความเข้าใจผิดกับท่าน...แต่แอบเอามาเขียนถึงดีกว่าค่ะ แก้คิดถึง
หนังสือเล่มนี้สนุกมาก...อ่านเพลินเลย เพราะอาจารย์หนูดีชวนคุยว่าในโลกยุคหน้า คนเราต้องเก่งด้านไหนบ้าง ต้องคิดถึงให้ได้แบบไหนบ้างถึงจะอยู่รอดอย่างประสบความสุขความสำเร็จสูงที่สุดด้วย ถึงแม้ท่านจะเป็นเจ้าของทฤษฎีเรื่องอัจฉริยภาพหลายประการ แต่ท่านไม่ได้พูดถึงอัจฉริยภาพเป็นเรื่องใหญ่เลย
มาดูกันไหมคะว่า มีความฉลาดอะไรบ้างที่เราน่าฝึกลูกๆ (และรวมถึงตัวเราด้วย) ให้เก่งกาจ...แต่ดูแล้ว ให้ยึดหลักกาลามสูตรนะคะ ว่าอย่าเชื่อไปทั้งหมด ในห้าความคิดนี้ อาจจะมีด้านที่หก ที่คนเขียนมองพลาดไปแล้วลืมเขียน อาจจะมีด้านไหนที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะไม่น่าจะจำเป็นทั้งห้าด้านเลยก็ได้ค่ะ...การอ่านไป ตั้งคำถามไป เป็นนิสัยที่หนูดีถูกอาจารย์ท่านนี้ล่ะค่ะ ฝึกมาตลอดปีเลยว่า ห้ามเชื่อทฤษฎีไหนง่ายๆ แค่เพราะมันน่าเชื่อ อย่าเชื่อแค่เพราะอาจารย์เราเป็นคนบอก อย่าเชื่อแค่เพราะคนพูดเป็นคนดัง ฯลฯ... เพราะหากเราฝึกคิดแบบนี้ แล้วเห็นช่องโหว่ได้...วันหนึ่งเราเอง ก็อาจเป็นคนคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ มาอุดช่องโหว่นั้นเองก็ได้นะคะ
Disciplined Mind สมองคิดเก่งในสาขาที่เราเลือก
ความคิด ความเก่ง และทักษะแรกนี้จำเป็นมากค่ะ...เมื่อเราเลือกเรียนอะไร เลือกทำอาชีพอะไร เราจำเป็นต้องเก่งและรู้รอบในสาขาวิชาชีพเราให้มากและดีที่สุด เช่น ถ้าเราเลือกเป็นหมอ ก็ให้เป็นหมอที่เก่งมากๆ เลือกเป็นคนขายต้นไม้ ก็ต้องเชี่ยวชาญรู้จักต้นไม้ทุกชนิดทุกพันธุ์ รู้จักการเลี้ยงดู การเพาะ ให้ครบถ้วน เพราะในการที่เราจะเก่งรอบด้านได้ เราต้องเก่งลึกก่อน คือ รู้ให้หมด ในสิ่งที่เป็นของเราอย่างแท้จริง
ดังนั้นตอนเลือกหนแรกที่นี่ล่ะค่ะที่สำคัญ เพราะนี่คือบ้านหลังแรกของเราเป็นบ้านที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด..และการเลือกสาขาที่จะเรียนนี้เราก็ต้องย้อนมาดูที่ความชอบหรือความถนัดของเราว่า มันคืออะไร ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลค่ะ บางคนบอกว่า การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องยากนั้น มักเป็นคนที่เลือกวิธีผิด คือการวิ่งไปมา ทุกที่เพื่อหาตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเขาก็อยู่ที่นั่น รอเขาอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น หน้าที่แรกที่เราต้องฝึกให้ลูกก็คือ การนิ่งและมองให้ดีว่าอัจฉริยภาพที่เรามีติดตัวมาคืออะไร และเราจะพัฒนาเขาต่อไปได้อย่างไร มันอาจจะเป็นด้านดนตรี ภาษา ธรรมชาติ ฯลฯ หรืออาจจะหลายด้านรวมกันก็ได้ค่ะ
Synthesizing Mind สมองคิดสังเคราะห์ข้อมูล
นั่นแน่...เก่งด้านเดียวไม่พอแล้วสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ เพราะว่าคำว่า “รู้อะไรกระจ่างแม้อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” หนูดีต้องขอต่ออีกหน่อยว่า รู้ให้กระจ่างสักสองสามอย่างจะดีกว่าค่ะ สมองของเราไหว สบายอยู่แล้ว...โดยเฉพาะสมองเด็กๆ เพราะเขาชอบเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน
ในโลกยุคหน้า คนทำงานส่วนใหญ่จะมีโอกาสเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยคนละห้าครั้งเชียวนะคะ เราเรียนจบมาด้านไหน หลายคนก็ไม่ได้ทำงานด้านนั้น หรืองงานหลายอาชีพก็ต้องใช้ความรู้หลายสาขาวิชามารวมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนูดีเลยค่ะ อาชีพหนูดีเป็นสาขาใหม่เรียนว่า Mind, Brain, and Education จะว่าหนูดีเป็นหมอ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว จะวาหนูดีเป็นนักจิตวิทยา ก็ไม่เชิง จะว่าเป็นนักการศึกษา ก็ไม่ใช่ทั้งหมด... และนี้เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากค่ะ ฝันยุคนี้ คือ การเกิดอาชีพใหม่ๆ จากการนำอาชีพดั้งเดิมมาผสมกัน ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่พวกเราสะสมกันไว้ในฐานะมนุษยชาตินั้นเยอะมาก การจำกัดตัวเองไว้ในกรอบวิชาเดียว จึงเป็นการจำกัดศักยภาพมนุษย์ ดังนั้น คนเก่งยุคหน้า เลยควรรู้หลายสาขาเพื่ออุดช่องโหว่ของสาขาวิชาเดียว...ในโลกยุคของลูกเรา เราคงได้เห็นอาชีพแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ...น่าตื่นเต้นดีนะคะ
Creating Mind สมองคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ
รู้รอบหลายสาขาวิชา...ที่สำคัญที่สุด คือการคิดค้นสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ค่ะ เพราะการรู้อย่างเดียว...รู้แล้วความเก่งจบลงแค่ที่ตัวเราก็น่าเสียดาย แต่ถ้าหากเราสามารถนำความเก่งนั้น มาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้โลกได้ คงคุ้มค่าน่าดูค่ะ ...เพราะฉะนั้น หากเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราอาจคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้วงการศิลปะก็ได้ เช่น หนูดีเพิ่งเห็นนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง คิดค้นนำขยะดีๆ มาผลิตเป็นกระเป๋าดีไซน์สวย น่าใช้เชียว... นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการคิดไดเยี่ยมสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ
เพราะถ้าแค่รู้ข้อมูล... เราก็ฝึกลูกหรือลูกศิษย์ให้เป็นได้ก็แค่เพียงผู้บริโภคข้อมูล แต่ข้อมูลจะมีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกเสพก็เมื่อเราสามารถเอาสมองของเราเป็นเครื่องแปลและแปลข้อมูลได้ เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์แบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
Respectful Mind สมองคิดให้เกียรติคน
ฉลาดแล้ว ทักษะเยี่ยมแล้ว... ไม่น่าจะพอแน่ๆ สำหรับโลกยุคหน้า เพราะการให้เกียรติคนและการถ่อมตัว เป็นนิสัยที่อัจฉริยะทุกคนต้องฝึกให้มีค่ะ... หนูดีเข้าเรียนฮาร์วาร์ดวันแรก สิ่งแรกที่ได้ยินคือปีนี้ขอให้นักเรียนใหม่ทุกคน ฝึกนิสัยให้เป็นคนถ่อมตัว เพราะคนเก่งที่ให้เกียรติใครไม่เป็น... ในที่สุดแล้วไม่มีใครอยากให้เกียรติเขา และผลงานดีๆ ก็จะมีออกมาไม่ได้ เพราะหาเพื่อนเก่งๆ ดีๆ ร่วมทำงานวิจัยด้วยไม่ได้เป็นคำสอนที่มีค่ามาก... เพราะวันหนึ่งที่เราเป็นคนเก่งมาก ก็จะมีคนชมมาก หากเราไม่รู้จักการประมาณใจให้ถ่อมตัวเสมอ เราก็จะเหลิงและลืมไปว่าทุกคนในโลกนี้คืออัจฉริยะทั้งนั้น ทุกคนเก่งทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เขาเก่งด้านไหนเท่านั้นเอง... ว่าไปแล้ว บทเรียนการถ่อมตัวถ่อมใจ เป็นหนึ่งในบทเรียนที่หนูดีถือว่ามีค่าที่สุดจากฮาร์วาร์ดค่ะ
Ethical Mind สมองคิด มีคุณธรรม เห็นความเชื่อมโยงถึงการกระทำของเรากับผู้อื่น
คนเก่งทีได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมในยุคนี้ ไม่ใช้คนที่แค่ประสบความสำเร็จเรื่องงาน หาเงินได้เยอะเท่านั้นนะคะ แต่คนที่ใครๆ รักและชื่นชม มักเป็นคนเก่งที่คิดถึงสังคมโดยรวมเป็น... บางคนเรียกทักษะนี้ว่า “คุณธรรม” แต่หนูดีชอบเรียกว่า “การเห็นว่า พฤติกรรมของเรามีผลกระทบได้ทั้งทางดีลางร้ายกับผู้อื่น”
การคิดแบบให้เกียรตินั้น เรามักจะทำกับอื่นอีกคนเดียว แต่การคิดแบบ “คุณธรรม” จะเป็นการคิดถึงคนเป็นร้อย เป็นหมั่น เป็นล้านเลยทีเดียวว่า การกระทำของเราจะกระทบกับคนอื่นอย่างไร....เช่น หากวันหนึ่ง เราได้เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราจะทำอย่างไรกับน้ำเสียของโรงงาน หากเราได้เป็นนักการเมือง เราจะทำอะไรกับเงินภาษีปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน คนเก่งแบบนี้ มีตัวอย่างที่ดีคือ คุณบิล เกตส์ ซึ่งรวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายผี แต่ทุกวันนี้ ชีวิตของเราเป็นการกุศลและมีเป้าหมายว่า อยากบริจาคเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ทำเป็นโครงการต่างๆ ที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้น... น่าทึ่งมากนะคะ ที่คนๆ หนึ่ง สร้างอาณาจักรมหึมานี้มาจากศูนย์ และวันหนึ่งจะนำเงินจากแหล่งนี้กลับคืนให้โลก
โลกยุคหน้า คงไม่ใช่โลกที่น่าอยู่นัก หากแต่ละคนคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ในการเป็นพ่อแม่ที่ดี คงไม่ใช่แค่การสอนให้ลูกเก่งวิชา สอบได้เกรดสี่เท่านั้น แต่เป็นการสอนให้เขาใช้สมองเขาได้เต็มคุณค่า และรู้ว่าจะใช้สมองนั้นไปทำไมทั้งเพื่อตัวเองและเพื่อสังคม... เป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายเลยนะคะ แต่หนูดีว่า การเลี้ยงลูกให้ดี เป็นการให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับโลกแล้วค่ะ... นี่เป็นคำที่หนูดีได้ยินเสมอจากแม่ของหนูดีว่า หนูดีเป็นของขวัญมีค่าที่สุดที่แม่มอบให้โลก... และหนูดีเชื่อว่า พ่อแม่คนไหนคิดได้แบบนี้ไม่มีทางที่จะเลี้ยงลูกผิดพลาดค่ะ และเด็กคนนั้นจะมีความสุขมากกับความเก่งของเขา
Brain Tips
เทคนิคสนุกๆ อันหนึ่งของการสอนลูกให้ถ่อมตัว คือ การให้เขาลองเรียนอะไรใหม่ๆ ทุกปี โดยอาจจะคงกิจกรรมด้วยเดิมไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเขาเรียนบัลเลย์อยู่ก็ให้เรียนต่อเนื่อง แต่ปีนี้อาจให้เพิ่มเรียนศิลปะ ปีหน้าให้ลองเรียนเต้นละติน อีกปีให้ลองเรียนเทควันโด.. เปลี่ยนไปเรื่อยๆ บ้างค่ะ เพราะเด็กๆ จะไดใช้กล้ามเนื้อมัดที่แปลกออกไป ได้ลองก้าว ลองหมุนตัวแบบที่ไม่เคยหมุน... แต่ประโยชน์ที่แท้จริงคือ การที่เขาจะรู้ว่า โลกนี้ยังมีคนเก่งอีกเยอะแยะ มากมายหลายแบบ...และเราไม่ใช่คนเดียวในโลกที่เก่ง...ถ้าทำได้แบบนี้ เขาจะมีคนให้ทึ่งใหม่ๆ ทุกปี ว่า ครูคนนี้ปั้นดินเก่งจัง โอ้โห เพื่อนใหม่คนนี้ หมุนตัวตามจังหวะซัลซ่าได้ตั้งสามรอบ ในขณะที่เขาหมุนแล้วเซทั้งๆ ที่ในห้องบัลเลย์เขาคือ เด็กเก่งที่สุด...ให้เด็กลองด้วยตัวเองแบบนี้ รับรอง ถ่อมตัวอย่างน่ารักและเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ
แหล่งที่มาของข้อมูล...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 172 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2550
โดย หนูดี วนิษา เรซ
EQ กับ IQ อะไรสำคัญกว่ากัน
ถ้าถามคุณผู้อ่านว่า อะไรสำคัญกว่ากันระหว่าง EQ กับ IQ คนส่วนใหญ่มักคิดว่า เรื่องของ IQ สำคัญกว่า EQ แต่ความจริง คือ \"ความสำเร็จของบุคคลมาจาก IQ เพียงร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นเรื่องของอีคิวทั้งสิ้น\" เป็นสิ่งที่แดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เผยแพร่แนวคิดนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่า เด็กที่มี EQ สูงจะประสบผลสำเร็จในชีวิตมากกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นำมาซึ่งความสำเร็จ ความเติมเต็มและความสุขของชีวิต
เพราะฉะนั้น การเลี้ยงดูเด็กจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยม พ่อแม่คิดว่าการให้วัตถุแก่ลูกคือความรัก แต่ความจริงไม่ใช่ การให้ทุกสิ่งทุกอย่างกับลูกไม่ได้แสดงว่าพ่อแม่รักลูก แต่สิ่งที่ลูกต้องการคือความรักที่มาจากจิตใจ การให้ความใกล้ชิด การสัมผัส การโอบกอด ให้ความชื่นชมเมื่อลูกทำความดี ฝึกสอนสิ่งที่ถูกต้อง เช่น รู้จักอดทนรอคอย รู้จักเห็นใจเข้าใจคนอื่น มีวินัย ควบคุมตนเองได้ ฯลฯ พ่อแม่ต้องรับฟัง เมื่อลูกมีปัญหา และให้คำแนะนำเมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือ ต้องการแก้ไขปัญหา ตักเตือน หรือลงโทษ เมื่อลูกทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ฝากไว้กับพ่อแม่ค่ะ
ที่มา คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา ข่าวสดรายวันวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6147
โดย นันท์นภัส ประสานทอง/กรมสุขภาพจิต
เด็กพิเศษ (4)
ในมาตรา 18 ยังได้ระบุให้ศูนย์
บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมี
ความต้องการพิเศษ ต้องมีการจัดการศึกษาปฐมวัย และ
การศึกษาขั้นพื้นฐานให้เด็กด้วย โดยมาตรา 37 ได้กำหนด
ให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความ
บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพลภาพ
เป็นหน้าที่ของเขตการศึกษา ซึ่งหากไม่สามารถจัดได้
กระทรวงศึกษาธิการสามารถเข้าไปจัดเพื่อเสริมการบริหาร
และการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้
การจัดการศึกษาของเด็กที่มีความบกพร่องด้านใด
ด้านหนึ่งนั้น นับว่ามีการขยายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เนื่อง
จากมีองค์การรับผิดชอบการดำเนินงานที่ชัดเจน คือ
คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ คนด้อยโอกาส
และคนที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งมีการดำเนินงานด้าน
นโยบายทางด้านกฎหมาย กฎกระทรวง รวมทั้งกองทุน
การศึกษาสำหรับคนพิการ นอกจากนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ยังได้จัดสรรเงินรายหัวสำหรับ
นักเรียนพิการ ให้ได้รับอุดหนุนรายหัวเช่นเดียวกับนักเรียน
ปกติ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับเด็กพิการด้วย ในปีการ
ศึกษา 2545 ได้มีการออกระเบียบและประกาศใช้ระเบียบ
ว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับเด็กพิการ พ.ศ.2546 จัดสรร
เงินอุดหนุนทางการศึกษาให้แก่ศูนย์ทางการศึกษา สนับสนุน
ครุภัณฑ์ให้โรงเรียนแกนนำการศึกษาพิเศษ และสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพการพิการของเด็กพิการด้วย
2. ทำอย่างไรจึงจะมีครูที่ได้รับการฝึกฝน เฉพาะ
ทางด้านการดูแลเด็กพิเศษ เพื่อที่จะสามารถช่วยให้เด็ก
เหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพที่เขามีอยู่
ปัจจุบันประเทศไทยมีครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้
น้อยมาก สมควรที่รัฐจะให้การส่งเสริมเป็นพิเศษควบคู่ไป
กับการลงทุนด้านการจัดตั้งโรงเรียน สถาบันหรือจัดระบบ
ให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเด็ก
พิเศษเหล่านี้
องค์ประกอบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพ
ของการศึกษาพิเศษ และเป็นปัญหาหลักของประเทศ
ปัจจุบันครูที่มีคุณวุฒิทางด้านนี้โดยตรงมีน้อยมาก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับจำนวนเด็กและปัญหาของเด็ก
การจัดการศึกษาพิเศษยังต้องพึ่งครูในระบบปกติ ซึ่งมักไม่
ได้รับการฝึกฝนเฉพาะทางด้านนี้มาก่อน กอปรกับจำนวน
เด็กปกติที่ครูต้องดูแล มีมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงหวังได้ยาก ดังนั้น ทาง
กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ขึ้น โดยจัด
สรรทุนการศึกษาแก่นักเรียนให้ศึกษาในสาขาวิชาที่สำคัญ ๆ
8 สาขา ตามแผนการผลิตครู (พ.ศ. 2547 – 2549) และ
สาขาการศึกษาพิเศษเป็น 1 ใน 8 สาขาที่ได้รับการสนับสนุน
ดังกล่าว เป็นจำนวน 200 ทุน ต่อปี ดังนั้นภายในปี
2550 ประเทศไทยจะมีครูเฉพาะทางด้านการศึกษาพิเศษ
จำนวน 600 คน นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ครูจำนวน 600 คน ดังกล่าวเมื่อเทียบกับ
ความต้องการของเด็ก ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนแสนก็ยังไม่
เพียงพอ จึงควรที่หน่วยงานเอกชนทั้งหลายจะเข้ามาร่วม
ให้การสนับสนุนให้มากขึ้น
3. ทำอย่างไรครูประจำการจึงจะได้รับการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำอย่างไร
ครูจึงจะมีโอกาสได้เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ขณะปฏิบัติงาน ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างวัฒนธรรม
แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับครูไทย ไม่ว่าจะเป็นครูของเด็ก
ปกติหรือเด็กพิเศษก็ตาม
การพัฒนาคุณภาพของครูนั้น หน่วยงานที่
ทำหน้าที่ผลิตครูและหน่วยงานที่ใช้ครู ควรให้ความสนใจ
ในการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการที่หลาก
หลาย เช่น การประชุม อบรม สัมมนา การนิเทศการ
เรียนการสอน การได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการได้รับการ
สนับสนุนด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ หนังสือและวัสดุ
ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนาความรู้ความ
เข้าใจ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาเป็นกฎหมายที่
มีผลบังคับใช้ดังนั้น จึงเป็นที่อุ่นใจได้สำหรับพ่อแม่
ผู้ปกครอง ในระดับหนึ่งว่า เด็กไทยที่มีความต้องการพิเศษ
เหล่านั้น จะมีสิทธิ์ได้รับการดูแล และได้รับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานตามอัตภาพและศักยภาพของแต่ละคน เหมือนกับเด็ก
ปกติทั่วไป ซึ่งก็คงต้องคอยติดตามดูกันต่อไปว่า จะมีความ
ก้าวหน้าในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องไปมาก
น้อยเพียงใด ซึ่งเด็กพิเศษในปัจจุบันก็คงจะได้รับความ
พิเศษที่แตกต่างจากในอดีตอย่างแน่นอน ......
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)