เด็กพิเศษ (1)



เด็กพิเศษ คือใคร คำถามนี้มักจะได้ยินบ่อย ๆ
หลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง เด็กพิเศษ
คือ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพราะมีความบกพร่อง
ทางร่างกาย และสติปัญญา ความบกพร่องนี้อาจจะเห็น
ด้วยตาเปล่า เช่น ตาบอด แขนขาพิการ การสังเกตเห็นได้
ว่าเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ( Down ’ s syndrome ) จากทาง
หน้าตา ฯลฯ ชนิดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ เด็กที่มี
ความบกพร่องทางการได้ยิน หูตึง หูหนวก เด็กออทิสติก
และเด็กบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น เด็กพิเศษมักเป็น
ผู้ที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในมุมสลัว ๆ มุมหนึ่งของสังคม เป็น
กลุ่มที่นอกจากจะไม่ค่อยได้รับโอกาสแล้ว บางครั้งยังถูกกีด
กันทางสังคมด้วย วันนี้เราเริ่มหันกลับมามองสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
เขาเหล่านี้บ้าง เริ่มให้ความสนใจและเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงมี
พระราชดำรัสถึงคนพิการ ดังความตอนหนึ่งว่า “งานช่วย
ผู้พิการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้พิการไม่ได้อยาก
จะพิการและอยากช่วยตัวเอง ถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถ
ปฏิบัติงานอะไร เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว
จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้น
นโยบายที่จะทำ คือ ช่วยให้เขาช่วยเหลือตัวเอง เพื่อจะให้เขา
สามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้นแก่คนพิการทั้งมวลก่อให้เกิดพลังในการดำรงชีวิต
อย่างมีเป้าหมายยิ่งขึ้น (ขวัญใจ, 2540)
แต่เดิมการเลี้ยงดูเด็กพิเศษที่มีปัญหาทางด้าน
ร่างกายและจิตใจ จะถูกจำกัดไว้ในครอบครัว ไม่เปิดโอกาส
ให้เด็กได้ออกมานอกบ้านหรือพบปะคนแปลกหน้า บาง
ครอบครัวถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงทำให้เด็กพิเศษ
เหล่านี้ด้อยโอกาสและมีปรับตัวได้ยาก เมื่ออยู่ในสถานการณ์
ที่แปลกใหม่ หรืออยู่ในกลุ่มคนที่ปกติ จึงทำให้เด็กเหล่านี้
เกิดปมด้อย และเป็นการบั่นทอนจิตใจของเด็กอย่างยิ่ง
ปัจจุบันพ่อแม่ได้เปลี่ยนแปลงบทบาท และมีการเคลื่อนไหว
มากขึ้น ไม่เก็บตัวเงียบในครอบครัวกับปัญหาของตนเอง
อีกแล้ว พ่อแม่เริ่มแสวงหากลุ่มและแนวทางการเลี้ยงดูที่
เหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสังคมเริ่มเห็นความสำคัญของ
เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ ประกอบกับพ่อแม่ในยุคปัจจุบันจำกัด
การมีลูก และเมื่อมีความสำคัญของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น ได้
จัดบริการด้านการศึกษาที่เห็นได้ชัดเจน จากพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีบทบัญญัติให้จัดการ
ศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยให้จัดตั้งแรกเกิด หรือแรกพบความพิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น