ความสำคัญของการพูด
1. เป็นสื่อในการแสดงออกถึงความฉลาด ความรู้ ความเป็นตัวของตัวเอง
2. เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะการพูดทำให้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันได้
3. เป็นรากฐานในการเข้าสังคม ทำให้เข้าใจผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผู้พูด
4. เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกับสัตว์อื่นมาก ในสัตว์บางชนิด เช่น ปลาโลมา ปลาวาฬ ผึ้ง นกบางชนิด ใช้เสียงในการสื่อความหมาย แต่ในการฝึกลิงชิมแพนซี ลิงกอริล่า ให้ใช้ภาษา พบว่าในลิงที่ฉลาดที่สุด สามารถสร้างคำในการสื่อความหมายได้เทียบเท่ากับเด็กอายุ 2 ปี เท่านั้น
5. ความเข้าใจภาษาจะเกิดก่อนที่เด็กจะพูดได้
ปัญหาการพูดของเด็กไทย
1. การพูดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฝึกสอนแบบตัวต่อตัวในระยะแรกของชีวิต แต่พ่อแม่ยุคใหม่ละทิ้งเด็กๆไว้หน้าทีวีหรือของเล่นนานเกินไป จนทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาความสามารถในการพูดไปอย่างน่าเสียดาย
2. พบได้ 3- 10 % ในวัยอนุบาล ซึ่งได้รับความสนใจในการแก้ปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยมาก เพราะคิดว่าพอโตเด็กก็จะดีเอง ยังไม่มีระบบการให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในโรงเรียนอนุบาลที่ชัดเจน
3. ผู้ใหญ่กังวลเด็กที่มีปัญหาการพูดในช่วง 5 ปีแรก เพราะกลัวว่าจะเป็นปัญญาอ่อน แต่ความจริงแล้ว เด็กที่มีปัญหาการพูดจะมีความสัมพันธ์กับเด็กที่มีปัญหาการเรียน การอ่านหนังสือ
4. เด็กที่มีปัญหาการพูดช้า เป็นอาการนำที่สำคัญของโรคออทิสติก ที่ต้องการการวินิจฉัยและช่วยเหลือตั้งแต่แรก
ความสำคัญของเสียงต่างๆ
1. ยิ่งมีโอกาสอยู่ท่ามกลางคนพูดด้วยและมีเสียงหลายรูปแบบ จะยิ่งทำให้เด็กสนใจต้นตอของเสียงและสามารถทำให้เลียนแบบเสียงได้เร็วขึ้น ( environmental rich)
2. ยิ่งได้ยินหลายๆเสียง เท่ากับฝึกให้เด็กแยกแยะเสียง (พัฒนาการฟัง) ถือเป็น listening skill
3. ยิ่งพ่อแม่ให้ความสนใจกับการออกเสียงของเด้ก จะยิ่งทำให้เด็กฝึกฝนที่จะใช้เสียงเพิ่มขึ้น
4. เพิ่มเวลาคุยกับเด็กตัวต่อตัว มองหน้า พูดสั้นๆ ชัดเจน ใช้คำง่ายๆ และแสดงสีหน้าท่าทางเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
5. เมื่อเด็กส่งเสียง พ่อแม่ให้เฝ้ามอง ฟังอย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจ ( ทั้งเสียง + ท่าทางของเด็ก) พูดโต้ตอบ เท่ากับสอนให้เด็กทำตาม
เด็กเองก็จะเฝ้าดูปากของพ่อแม่...ฟัง....พยายามทำความเข้าใจ......เลียนแบบ / ทำตาม......พยายามออกเสียง......เริ่มเล่นเสียง ยิ่งได้ความสนใจจะยิ่งทำเพิ่มขึ้น
สื่อความหมายด้วยท่าทาง
( Body language / non verbal communication )
1. เด็กใช้ภาษาท่าทางได้ตั้งแต่เกิดเพื่อแสดงความต้องการ เช่น หิว ง่วงนอน ไม่พอใจ
2. เด็กเรียนรู้เพิ่มขึ้น เชื่อว่ามาจากการเลียนแบบภาษาท่าทางที่พ่อแม่ใช้ มาปรับใช้ เช่น ทำท่าจะให้อุ้ม ใช้นิ้วชี้เอาของ ใช้เสียงเรียกให้หันมาหา เป็นต้น ราวกับบอกพ่อแม่ว่า ถ้าชั้นทำแบบนี้ “ชั้นก็รู้นะว่าเธอต้องเข้าใจ”
การสื่อสารด้วยท่าทาง
แรกเกิด
2 ด
4 ด
6 ด
9 ด
12 ด
ร้องไห้เวลาไม่พอใจ หรือไม่สบายตัว หัวศีรษะออกห่างเต้านมเมื่ออิ่ม
ขยับแขนขา เวลาดีใจ
ยิ้มตอบและยิ้มทักทาย ทำท่าดีใจเวลาที่เห็นอาหารหรือเห็นแม่ ทำท่าเอื้อมมือคว้าของเล่น
รู้จักคนแปลกหน้า ทำท่าไม่มั่นใจ ไม่ชอบที่จะอยู่ใกล้คนแปลกหน้า
มองตามของที่เคลื่อนไหว ร้องตามแม่ ใช้นิ้วชี้เอาของที่ต้องการ
ดึงเชือกเพื่อลากของเล่นเข้ามาหาตัว โบกมือ “บ๊าย บาย” สั่นหัวเมื่อไม่ต้องการ ให้ความร่วมมือเวลาแต่งตัว
การมีสังคมเป็นจุดขึ้นต้นของการสร้างภาษา
1.drive to communication นับตั้งแต่เด็กแรกเกิดลืมตาขึ้นดูโลก ก็มีพ่อแม่คอยอยู่ใกล้ชิด ดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของเด็ก ให้ความสุขสบาย โดยที่เด็กยังทำได้เพียงสื่อสารโดยการร้องไห้และทำท่าทางไม่สบายเท่านั้น พ่อแม่ก็ตอบสนองเด็ก ยิ้ม เข้ามาใกล้ๆ คุย ร้องเพลง คอยลูบเนื้อลูบตัว ให้ความใกล้ชิด จับด้วยความนุ่มนวล จนเด็กเรียนรู้ว่าการสื่อสารด้วยท่าทางนั้นได้รับผลสะท้อนที่ทำให้สบายตัวอย่างไร ถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เด็กพยายามเพิ่มการสื่อสารขึ้นโดยเฉพาะการสื่อสารโดยการพูด
2. ด้วยท่าทางที่ช่วยตัวเองไม่ได้ + social smile ของเด็ก เป็นแรงจูงใจทำให้พ่อแม่เป็นห่วงและอยากเข้ามาใกล้ จึงเป็นเหตุทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเลียนแบบการพูดได้ง่ายขึ้น
3. ในการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะมีการกระตุ้นสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัส และจิตใจ อยู่ตลอดเวลา เท่ากับเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านไปพร้อมกัน พ่อแม่จึงเป็นสังคมที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก โดยเฉพาะในด้านการพูด
4. ยิ่งพ่อแม่เข้ามาใกล้และส่งเสียงบ่อยๆ ทำให้เด็กเกิดความสนใจพ่อแม่ ยกมือไข่วคว้า พยายามเรียกร้องความสนใจโดยจะหัดออกเสียง (ที่อายุ 1 เดือน)
5. ยิ่งเด็กเริ่มยิ้ม ส่งเสียงอ้อ แอ้ และทักทายผู้คน ก็ยิ่งทำให้พ่อแม่อยากเขามาคุยเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นการพัฒนาภาษาพูดเพิ่มขึ้น
จะคุยกับลูกอย่างไร
1. พ่อแม่ควรได้รับการบอกเล่าถึงความสำคัญในการพูดคุยกับเด็กในแต่ละช่วงวัย
2. เวลาที่เหมาะในการคุย คือ ช่วงที่เด็กตื่นและเงียบ ไม่ร้องไห้
3. เข้าไปใกล้ๆ มองหน้า ทักทาย ยิ้ม จนเรียกความสนใจจากเด็กได้ (greeting)
4. ใช้น้ำเสียงสูง ขึ้นๆลงๆ น่าตื่นเต้น ติดตาม (exaggerate tone)
5. ใช้ประโยคสั้นๆ ใช้คำง่ายๆ สื่อสารชัดเจน
6. มีเวลาหยุดพูดและรอให้เด็กตอบสนอง (pause and wait) เท่ากับเป็นการสร้างระบบการสื่อสาร 2 ทาง คือมีการผลัดกันพูด แบ่งเวลาให้เด็กได้พูด ตั้งใจฟัง มองหน้า ยิ้มและให้กำลังใจเพื่อส่งเสริมการพูดคุยของเด็ก
7. เพิ่มระยะเวลาในการคุยกับเด็กให้นานขึ้น ทำซ้ำๆ
8. สรุป เท่ากับสอนให้พูดและสอนให้ตั้งใจฟัง โดยทำเป็นตัวอย่างและเมื่อเด็กทำได้ก็ให้กำลังใจ
เมื่อไรจะเรียกว่าการพูดผิดปกติ
สิ่งต่อไปนี้แสดงถึงความผิดปกติในการรับรู้และการพูด
เรียนรู้คำใหม่ๆยาก ลืมบ่อย ไม่ค่อยเข้าใจ สับสน
เรียนรูปประโยคสับสน พูดไม่รู้เรื่อง
พูดคำแรกเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี
พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุมากกว่า 3 ปี
พูดสั้นๆหรือพูดไม่จบประโยค ไม่ค่อยตั้งคำถาม
ออกเสียงคำหรือพยางค์ไม่ครบ
ทำตามคำสั่งไม่ได้ สับสน ยุ่งยาก
ใช้คำสั่งยาวจะไม่เข้าใจ
ตอบคำถามไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม
สับสนเกี่ยวกับเวลา วันนี้ เมื่อวาน พรุ่งนี้
ออกเสียงพยัญชนะสับสน
พูดเข้าใจยาก ไม่ค่อยรู้เรื่อง
ถ้าสงสัยจะให้พ่อแม่ทำอย่างไร
ถ้าสงสัยว่าลูกจะพูดช้า ให้เพิ่มเวลาเล่นและคุยกับลูกอย่างน้อย 100 % และทำต่อไปนี้
1. พบกุมารแพทย์เพื่อ - ตรวจเช็คพัฒนาการด้านอื่นว่าช้าด้วยหรือไม่
- ตรวจการได้ยิน
2. สำรวจคุณภาพของผู้เลี้ยงดู เวลาที่ใช้ในการเล่น คุยกับเด็ก
3. ฝึกพูดโดยนักฝึกพูด และเพิ่มเวลาฝึกพูดที่บ้าน
4. กระตุ้นพัฒนาการด้านอื่นไปพร้อมกัน ในกรณีที่พบว่าช้าด้วย
5. ติดตามประเมินผล
1. เป็นสื่อในการแสดงออกถึงความฉลาด ความรู้ ความเป็นตัวของตัวเอง
2. เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะการพูดทำให้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันได้
3. เป็นรากฐานในการเข้าสังคม ทำให้เข้าใจผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผู้พูด
4. เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกับสัตว์อื่นมาก ในสัตว์บางชนิด เช่น ปลาโลมา ปลาวาฬ ผึ้ง นกบางชนิด ใช้เสียงในการสื่อความหมาย แต่ในการฝึกลิงชิมแพนซี ลิงกอริล่า ให้ใช้ภาษา พบว่าในลิงที่ฉลาดที่สุด สามารถสร้างคำในการสื่อความหมายได้เทียบเท่ากับเด็กอายุ 2 ปี เท่านั้น
5. ความเข้าใจภาษาจะเกิดก่อนที่เด็กจะพูดได้
ปัญหาการพูดของเด็กไทย
1. การพูดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฝึกสอนแบบตัวต่อตัวในระยะแรกของชีวิต แต่พ่อแม่ยุคใหม่ละทิ้งเด็กๆไว้หน้าทีวีหรือของเล่นนานเกินไป จนทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาความสามารถในการพูดไปอย่างน่าเสียดาย
2. พบได้ 3- 10 % ในวัยอนุบาล ซึ่งได้รับความสนใจในการแก้ปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยมาก เพราะคิดว่าพอโตเด็กก็จะดีเอง ยังไม่มีระบบการให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในโรงเรียนอนุบาลที่ชัดเจน
3. ผู้ใหญ่กังวลเด็กที่มีปัญหาการพูดในช่วง 5 ปีแรก เพราะกลัวว่าจะเป็นปัญญาอ่อน แต่ความจริงแล้ว เด็กที่มีปัญหาการพูดจะมีความสัมพันธ์กับเด็กที่มีปัญหาการเรียน การอ่านหนังสือ
4. เด็กที่มีปัญหาการพูดช้า เป็นอาการนำที่สำคัญของโรคออทิสติก ที่ต้องการการวินิจฉัยและช่วยเหลือตั้งแต่แรก
ความสำคัญของเสียงต่างๆ
1. ยิ่งมีโอกาสอยู่ท่ามกลางคนพูดด้วยและมีเสียงหลายรูปแบบ จะยิ่งทำให้เด็กสนใจต้นตอของเสียงและสามารถทำให้เลียนแบบเสียงได้เร็วขึ้น ( environmental rich)
2. ยิ่งได้ยินหลายๆเสียง เท่ากับฝึกให้เด็กแยกแยะเสียง (พัฒนาการฟัง) ถือเป็น listening skill
3. ยิ่งพ่อแม่ให้ความสนใจกับการออกเสียงของเด้ก จะยิ่งทำให้เด็กฝึกฝนที่จะใช้เสียงเพิ่มขึ้น
4. เพิ่มเวลาคุยกับเด็กตัวต่อตัว มองหน้า พูดสั้นๆ ชัดเจน ใช้คำง่ายๆ และแสดงสีหน้าท่าทางเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
5. เมื่อเด็กส่งเสียง พ่อแม่ให้เฝ้ามอง ฟังอย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจ ( ทั้งเสียง + ท่าทางของเด็ก) พูดโต้ตอบ เท่ากับสอนให้เด็กทำตาม
เด็กเองก็จะเฝ้าดูปากของพ่อแม่...ฟัง....พยายามทำความเข้าใจ......เลียนแบบ / ทำตาม......พยายามออกเสียง......เริ่มเล่นเสียง ยิ่งได้ความสนใจจะยิ่งทำเพิ่มขึ้น
สื่อความหมายด้วยท่าทาง
( Body language / non verbal communication )
1. เด็กใช้ภาษาท่าทางได้ตั้งแต่เกิดเพื่อแสดงความต้องการ เช่น หิว ง่วงนอน ไม่พอใจ
2. เด็กเรียนรู้เพิ่มขึ้น เชื่อว่ามาจากการเลียนแบบภาษาท่าทางที่พ่อแม่ใช้ มาปรับใช้ เช่น ทำท่าจะให้อุ้ม ใช้นิ้วชี้เอาของ ใช้เสียงเรียกให้หันมาหา เป็นต้น ราวกับบอกพ่อแม่ว่า ถ้าชั้นทำแบบนี้ “ชั้นก็รู้นะว่าเธอต้องเข้าใจ”
การสื่อสารด้วยท่าทาง
แรกเกิด
2 ด
4 ด
6 ด
9 ด
12 ด
ร้องไห้เวลาไม่พอใจ หรือไม่สบายตัว หัวศีรษะออกห่างเต้านมเมื่ออิ่ม
ขยับแขนขา เวลาดีใจ
ยิ้มตอบและยิ้มทักทาย ทำท่าดีใจเวลาที่เห็นอาหารหรือเห็นแม่ ทำท่าเอื้อมมือคว้าของเล่น
รู้จักคนแปลกหน้า ทำท่าไม่มั่นใจ ไม่ชอบที่จะอยู่ใกล้คนแปลกหน้า
มองตามของที่เคลื่อนไหว ร้องตามแม่ ใช้นิ้วชี้เอาของที่ต้องการ
ดึงเชือกเพื่อลากของเล่นเข้ามาหาตัว โบกมือ “บ๊าย บาย” สั่นหัวเมื่อไม่ต้องการ ให้ความร่วมมือเวลาแต่งตัว
การมีสังคมเป็นจุดขึ้นต้นของการสร้างภาษา
1.drive to communication นับตั้งแต่เด็กแรกเกิดลืมตาขึ้นดูโลก ก็มีพ่อแม่คอยอยู่ใกล้ชิด ดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของเด็ก ให้ความสุขสบาย โดยที่เด็กยังทำได้เพียงสื่อสารโดยการร้องไห้และทำท่าทางไม่สบายเท่านั้น พ่อแม่ก็ตอบสนองเด็ก ยิ้ม เข้ามาใกล้ๆ คุย ร้องเพลง คอยลูบเนื้อลูบตัว ให้ความใกล้ชิด จับด้วยความนุ่มนวล จนเด็กเรียนรู้ว่าการสื่อสารด้วยท่าทางนั้นได้รับผลสะท้อนที่ทำให้สบายตัวอย่างไร ถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เด็กพยายามเพิ่มการสื่อสารขึ้นโดยเฉพาะการสื่อสารโดยการพูด
2. ด้วยท่าทางที่ช่วยตัวเองไม่ได้ + social smile ของเด็ก เป็นแรงจูงใจทำให้พ่อแม่เป็นห่วงและอยากเข้ามาใกล้ จึงเป็นเหตุทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเลียนแบบการพูดได้ง่ายขึ้น
3. ในการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะมีการกระตุ้นสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัส และจิตใจ อยู่ตลอดเวลา เท่ากับเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านไปพร้อมกัน พ่อแม่จึงเป็นสังคมที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก โดยเฉพาะในด้านการพูด
4. ยิ่งพ่อแม่เข้ามาใกล้และส่งเสียงบ่อยๆ ทำให้เด็กเกิดความสนใจพ่อแม่ ยกมือไข่วคว้า พยายามเรียกร้องความสนใจโดยจะหัดออกเสียง (ที่อายุ 1 เดือน)
5. ยิ่งเด็กเริ่มยิ้ม ส่งเสียงอ้อ แอ้ และทักทายผู้คน ก็ยิ่งทำให้พ่อแม่อยากเขามาคุยเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นการพัฒนาภาษาพูดเพิ่มขึ้น
จะคุยกับลูกอย่างไร
1. พ่อแม่ควรได้รับการบอกเล่าถึงความสำคัญในการพูดคุยกับเด็กในแต่ละช่วงวัย
2. เวลาที่เหมาะในการคุย คือ ช่วงที่เด็กตื่นและเงียบ ไม่ร้องไห้
3. เข้าไปใกล้ๆ มองหน้า ทักทาย ยิ้ม จนเรียกความสนใจจากเด็กได้ (greeting)
4. ใช้น้ำเสียงสูง ขึ้นๆลงๆ น่าตื่นเต้น ติดตาม (exaggerate tone)
5. ใช้ประโยคสั้นๆ ใช้คำง่ายๆ สื่อสารชัดเจน
6. มีเวลาหยุดพูดและรอให้เด็กตอบสนอง (pause and wait) เท่ากับเป็นการสร้างระบบการสื่อสาร 2 ทาง คือมีการผลัดกันพูด แบ่งเวลาให้เด็กได้พูด ตั้งใจฟัง มองหน้า ยิ้มและให้กำลังใจเพื่อส่งเสริมการพูดคุยของเด็ก
7. เพิ่มระยะเวลาในการคุยกับเด็กให้นานขึ้น ทำซ้ำๆ
8. สรุป เท่ากับสอนให้พูดและสอนให้ตั้งใจฟัง โดยทำเป็นตัวอย่างและเมื่อเด็กทำได้ก็ให้กำลังใจ
เมื่อไรจะเรียกว่าการพูดผิดปกติ
สิ่งต่อไปนี้แสดงถึงความผิดปกติในการรับรู้และการพูด
เรียนรู้คำใหม่ๆยาก ลืมบ่อย ไม่ค่อยเข้าใจ สับสน
เรียนรูปประโยคสับสน พูดไม่รู้เรื่อง
พูดคำแรกเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี
พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุมากกว่า 3 ปี
พูดสั้นๆหรือพูดไม่จบประโยค ไม่ค่อยตั้งคำถาม
ออกเสียงคำหรือพยางค์ไม่ครบ
ทำตามคำสั่งไม่ได้ สับสน ยุ่งยาก
ใช้คำสั่งยาวจะไม่เข้าใจ
ตอบคำถามไม่ชัดเจน หรือไม่เหมาะสม
สับสนเกี่ยวกับเวลา วันนี้ เมื่อวาน พรุ่งนี้
ออกเสียงพยัญชนะสับสน
พูดเข้าใจยาก ไม่ค่อยรู้เรื่อง
ถ้าสงสัยจะให้พ่อแม่ทำอย่างไร
ถ้าสงสัยว่าลูกจะพูดช้า ให้เพิ่มเวลาเล่นและคุยกับลูกอย่างน้อย 100 % และทำต่อไปนี้
1. พบกุมารแพทย์เพื่อ - ตรวจเช็คพัฒนาการด้านอื่นว่าช้าด้วยหรือไม่
- ตรวจการได้ยิน
2. สำรวจคุณภาพของผู้เลี้ยงดู เวลาที่ใช้ในการเล่น คุยกับเด็ก
3. ฝึกพูดโดยนักฝึกพูด และเพิ่มเวลาฝึกพูดที่บ้าน
4. กระตุ้นพัฒนาการด้านอื่นไปพร้อมกัน ในกรณีที่พบว่าช้าด้วย
5. ติดตามประเมินผล
พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น