เด็กพิเศษ (2)



1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with hearing impairment )
- เด็กที่สูญเสียการได้ยิน ในระดับหูตึงหรือหูหนวก
อาจจะสูญเสียการได้ยินมาตั้งแต่กำเนิด หรือ
ภายหลังก็ตาม ซึ่งการได้ยินเริ่มจากหูตึงน้อย
ปานกลาง ไปจนถึงระดับที่รุนแรง จนกระทั่งหู
หนวก หรือไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ แม้จะมีเสียงดัง
เพียงใดก็ตาม
2. เด็กที่มีความความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with mental retardation)
- เด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติทั่วไป เมื่อวัด
ระดับสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
มีข้อจำกัดในทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย
2 ทักษะใน 10 ทักษะ คือ การสื่อความหมาย
การดูแลตนเอง การดำรงชีวิต ทักษะทาง
สังคม การใช้สาธารณสมบัติ การควบคุม
ตนเอง สุขอนามัยและความปลอดภัย การ
เรียนวิชาการเพื่อการดำรงชีวิต การใช้เวลาว่าง
และการทำงาน ทั้งนี้ภาวะความบกพร่องทาง
สติปัญญานี้ต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี ซึ่งสามารถ
จัดระดับความบกพร่องทางสติปัญญาได้เป็น 4
ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ขั้นเล็กน้อย ระดับ I.Q. 50-60

ระดับที่ 2 ขั้นเล็กปานกลาง ระดับ I.Q. 35-49

ระดับที่ 3 ขั้นรุนแรง ระดับ I.Q. 20-34

ระดับที่ 4 ขั้นรุนแรงมาก ระดับ I.Q. น้อยกว่า 20


3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children with visual impairment)
- เด็กตาบอด หรือเด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมาก

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with physical impairment)
- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกาย หรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูก
และกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรัง รุนแรง มี
ความพิการของระบบประสาท (nervous
system) มีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว

5. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม (Children with behavior disorders )
- เด็กที่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็ก
ปกติทั่วไป แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบ
ทางสติปัญญา การรับรู้ ความบกพร่องทาง
ร่างกายหรือสุขภาพ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ
เพื่อนได้ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับเพศและวัย
มีปัญหาทางอารมณ์ หรือแสดงอาการเจ็บป่วย
โดยมีสาเหตุมาจากจิตใจ ได้แก่ความวิตกกังวล
หรือหวาดกลัว


6. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with learning disabilities )

- เด็กที่มีความบกพร่องในขบวนการทางจิตวิทยาทำ
ให้มีปัญหาด้านการใช้ภาษา ด้านการฟัง การพูด
การอ่านและการเขียน และการสะกดคำหรือมี
ปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งปัญหา
ดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทาง
ร่างกาย ทางการเห็น ทางการได้ยิน ทาง
สติปัญญา อารมณ์และสภาพแวดล้อม

7. เด็กสมาธิสั้น (Children with attention deficit/hyperactivity disorders

- เด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่ง
ได้แก่ การขาดสมาธิ (inattention) พฤติกรรม
ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity ) ขาดความ
ยับยั้งชั่งใจหุนหันพลันแล่น ทำอะไรไม่คิดให้
รอบคอบ และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมะสม
กับวัย หากมีความรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อการ
ดำรงชีวิต ประจำวัน การเรียนการปรับตัวในสังคม

8. เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย (Children with communication disorders)

- เด็กที่มีความบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษา
พูด จนไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้
ตามปกติ เช่น การพูดไม่ชัด จังหวะการพูดไม่ดี
คุณภาพของเสียงผิดปกติ ตลอดจนการพูด
ผิดปกติที่เกิดจากการมีพยาธิของระบบประสาท
ส่วนกลาง หรือระบบประสาทส่วนปลาย มีความ
บกพร่องทั้งในด้านการรับรู้และการแสดงออกทาง
ภาษา
9. เด็กออทิสติก (Children with autism )

- เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือถดถอย แสดง
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะ
แปลก ๆ เช่น หลีกเลี่ยงการมองหน้าผู้อื่น ไม่
สบตา มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงที่ได้ยิน การ
สัมผัส หรือความเจ็บป่วยในลักษณะที่มากเกินไป
หรือน้อยเกินไป หรือไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อ
สิ่งเร้าใด ๆ ทั้งสิ้น มีปัญหาด้านการพูดและภาษา
ไม่สามารถแสดงการตอบโต้กับคน สิ่งของ หรือ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้


10. เด็กที่มีความพิการซ้ำซ้อน (Children with multiple handicapped )

- เด็กที่มีสภาพความพิการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปใน
บุคคลเดียวกัน เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทาง
สติปัญญา รวมทั้งสูญเสียการได้ยิน หรือเด็กที่ตา
บอดและสูญเสียการได้ยิน เป็นต้น และสภาพ
ความพิการนี้จะส่งผลให้เกิดการด้อยความสามารถ
ในการดำรงชีวิต ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการได้รับ
การศึกษาและการทำกิจกรรมต่าง ๆ

11. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Children with gifted / talented )

- เด็กที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใด
ด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน ในด้านสติปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษา การเป็นผู้นำ
การสร้างงานศิลปะ ดนตรี กีฬา และความ
สามารถทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือ
หลายสาขาอย่างเป็นที่ประจักษ์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับเด็กอื่นที่มีอายุระดับเดียวกัน สภาพแวดล้อม
เดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น