เด็กพิเศษ (3)



พอสรุปได้ว่า เด็กพิเศษ หรือเด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุก
ด้านทั้งใน ด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล การบริการ
ทางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างไปจากเด็กปกติ ทั้งนี้เนื่อง
มาจากความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
สติปัญญาของเด็กนั่นเอง
ปรัชญาและแนวการจัดบริการช่วยเหลือเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ ยึดหลักการจัดแบบให้นักเรียนเป็น
ศูนย์กลาง 6 ประการ คือ
1. พัฒนาการของเด็กปกติ เน้นพัฒนาการของ
เด็กปกติ ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นทุก ๆ ด้าน เพื่อเป็นแนว
ทางให้ครูมีความเข้าใจเด็กทุกด้านดีขึ้น
2. พฤติกรรมมนุษย์ เน้นเรื่องการปรับพฤติกรรม
และการสอนทักษะที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละคน ทั้งต้อง
จัดการสอนให้เป็นไปตามลำดับขั้น และฝึกทักษะหรือให้
ทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเอง
3. บูรณาการทฤษฎีต่าง ๆ เน้นการนำหลักการ
ของทฤษฎีต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เช่น การนำเอาขั้นตอน
พัฒนาการเด็กของเพียเจต์มาผสมผสานกับทฤษฎีพฤติกรรม
แล้วนำมาเป็นแนวทางในการจัดหรือปรับหลักสูตรและเนื้อหา
วิชาการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสมกับเด็ก
4. ทำงานร่วมกับแพทย์และนักวิชาชีพ โดยเน้น
ให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ว่ามีความ
บกพร่องด้านใดบ้าง เพื่อเป็นการช่วยให้การรักษา บำบัด
ได้เร็วขึ้น นอกจากแพทย์แล้ว ยังมีนักวิชาชีพสาขาอื่น ๆ
เช่น แพทย์เฉพาะทาง ครู นักจิตวิทยา นักกายภาพ
บำบัด นักอาชีวบำบัด ฯลฯ
5. ฝึกอบรมคณะทำงาน เน้นการฝึกอบรมให้แก่
ผู้ที่ทำงานร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้รู้จักการ
สังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เด็กเหล่านี้
แสดงออกมา ทั้งจะต้องราบวิธีการตอบสนองต่อพฤติกรรม
นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องด้วย
6. เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางให้ความสำคัญใน
ด้านความร่วมมือกับครอบครัว การจัดโครงการต่าง ๆ ให้
แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นจะประสบความสำเร็จได้
จะต้องได้รับความร่วมมือหรือสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่ง
การจัดบริการต่าง ๆ ต้องคำนึงและตระหนักถึงความแตกต่าง
ของแต่ละครอบครัว
1. เด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
มีอยู่ไม่น้อยในประเทศไทย เมื่อใดจึงจะได้รับการดูแลจาก
รัฐในฐานะที่เขาเป็นประชาชนคนหนึ่ง เขาควรจะมีสิทธิ์ที่
จะได้รับการศึกษาไปตามศักยภาพของเขา เช่นเดียวกับเด็ก
ปกติ ซึ่งขณะนี้ โรงเรียน สถาบันที่รับดูแลและพัฒนาเด็ก
เหล่านี้เพียงไม่กี่แห่ง มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการ
เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ทั้งหลาย มักตกเป็นภาระ
ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ต้องดิ้นรนดูแลกันไปตามยถากรรม
(ทิศนา, 2547)
ในประเด็นนี้ เรื่องของการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
พิเศษนั้น หลังจากถูกละเลยมานาน แต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความ
สำคัญในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ในมาตรา 10 หมวด 2 ว่า
ด้วยสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาความว่า “ มาตรา 10 การ
จัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอภาค
กันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การ
จัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการ
เรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือ ทุพลภาพ หรือบุคคลซึ่ง
ไม่สามารถดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าว
มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ...”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น