การอบรมเลี้ยงดูให้ลูกเป็นคนดี มีคุณภาพ



ส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมดุลครบทุกด้าน
พ่อแม่ช่วยส่งเสริมให้ลูก เป็นคนดี คนเก่งของครอบครัวและสังคมได้ โดย- ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ด้วยความรักและความเข้าใจ ทำให้ลูกมีจิตใจดี- ให้โอกาสลูกเรียนรู้ เล่น และฝึกทำสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเป็นมิตร ทำให้ลูกฉลาด คล่องแคล่ว และมีมานะอดทน- ยิ้มแย้ม สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน สังเกตการแสดงออกของลูก รับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก สนใจที่ตอบคำถามและเล่าเรื่องต่างๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ทำให้ลูกรู้ภาษาเร็ว และมีกำลังใจใฝ่รู้- ทำตัวเป็นแบบอย่าง ที่จะปลูกฝังลักษณะนิสัย และความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ลูกรู้จักกาละเทศะ รู้ผิดรู้ชอบและคุ้นเคย กับสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อชีวิต
เอาใจใส่ให้เวลา
พ่อแม่จำเป็นต้องให้เวลา และเอาใจใส่ลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างกัน ความมั่นคงทางใจ มีความสำคัญมากต่อชีวิต และจิตใจของลูกๆ อาจจะเรียกได้ว่า เท่ากับอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การดูแลรักษายามเจ็บไข้ และการปกป้องจากอันตรายต่างๆ
เด็กมองเห็น ได้ยิน รู้จักตอบสนองต่อรส กลิ่น และสัมผัสตั้งแต่แรกเกิด เรียนรู้ได้เร็วจากคนที่ใกล้ชิด จากประสบการณ์และการกระทำของตนเอง พ่อแม่จึงต้องให้เวลาอยู่ใกล้ชิด มองหน้าสบตายิ้มแย้ม สัมผัสอย่างอ่อนโยน พูดคุยโต้ตอบ เล่นด้วยกัน จัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจและปลอดภัย ทำกิจกรรมต่างๆ กับลูกโดยคำนึงถึง ความสนใจ และความสามารถของลูก
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก
การอบรมเลี้ยงดูลูก ด้วยความรักความเมตตา ใช้เหตุผล อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีงาม จะช่วยให้ลูกมีจิตใจมั่นคง ไม่สับสน การฝึกให้ลูกเป็นคนรู้จักคิด มีน้ำใจ และคุณธรรม จะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพในอนาคต ส่วนเด็กที่ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกทำโทษรุนแรง จะมีปัญหาสุขภาพจิต และมีความประพฤติต่อต้านสังคม กลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าวได้
พ่อแม่สามารถจูงใจให้ลูก มีความใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกอย่าง เหมาะสม ตามกาลเทศะ โดยให้ความสนใจ ในสิ่งที่ลูกกำลังทำ ตอบคำถามของลูกได้ ฝึกให้ลูกได้ ฝึกให้ลูกหัด สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้โอกาสลูกที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน ซึ่งอาจจะแตกต่างกับความคิดของพ่อแม่ และให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ จากการลองถูกลองผิดบ้าง ในกรณีที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
สังเกตพัฒนาการตามวัย
ตามปกติเด็กวัยนี้ พัฒนาความสามารถด้านต่างๆ รวดเร็วมาก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก จึงจำเป็นจะต้องติดตาม สังเกตพฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดของลูก ว่า เปลี่ยนแปลงไป ตามวัย เท่าที่ควรหรือไม่ โดยศึกษา และบันทึกลงสมุดบันทึกสุขภาพ ประจำตัวเด็ก ควรปรับเปลี่ยน วิธีการอบรมเลี้ยงดู ให้เหมาะสมกับวัย เพศ และความสามารถของลูก โดยไม่เคี่ยวเข็ญจนเกินไป หากสงสัยว่า ลูกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย ควรให้โอกาสฝึกหัด อีกสัก 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากพ่อแม่พบลักษณะที่สงสัย หรือมีปัญหา ในการเลี้ยงดู ควรบอกเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ ลักษณะที่สงสัยว่าอาจผิดปกติ ได้แก่
การได้ยิน
ลูกไม่สะดุ้ง เวลามีเสียงดังใกล้ตัว อายุ 6 เดือน ไม่หันมองหา ตามเสียงเรียกชื่อ
การมองเห็น
เดือนแรกไม่มองหน้าอายุ 3 เดือน ไม่มองตามสิ่งของ หรือหน้าคน ที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าอายุ 6 เดือน ไม่คว้าของอายุ 9 เดือน ไม่หยิบของชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า
การเคลื่อนไหว
แขนขาขยับ ไม่เท่ากัน หรือเคลื่อนไหวน้อยอายุ 3 เดือน ยังไม่ชันคออายุ 5 เดือน ยังไม่คว่ำอายุ 9 เดือน ยังไม่นั่งอายุ 1 ขวบ ไม่เกาะยืนอายุเกิน 2 ขวบ ยังล้มง่าย งุ่มง่าม หรือเก้ๆ กังๆ
การรู้จักและใช้ภาษา
อายุ 10 เดือน ยังไม่เลียนเสียงพูดอายุ 1 ขวบ ยังไม่เลียนท่าทาง และยังพูดเป็นคำ ที่มีความหมายไม่ได้อายุ 1 ขวบครึ่ง ยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่พูดเป็นคำๆอายุ 3 ขวบ ยังไม่พูดโต้ตอบ เป็นประโยค
ปัญหาอื่นๆ เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ แยกตัว ซึมเศร้า ก้าวร้าว
ให้การศึกษาเพื่อชีวิต
เด็กวัยนี้จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัว เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กแรก เกิดถึงอายุ 3 ขวบ มักได้รับการดูแล อยู่ในบ้าน บางคนอาจได้รับการดูแล จากพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแล ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน พ่อแม่จึงควรเลือก บริการเลี้ยงลูก ที่สะอาด ปลอดภัย และมีกิจกรรมการเล่น และเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ พ่อแม่ก็ยังจำเป็น จะต้องติดตาม เอาใจใส่ ดูแลลูก อย่างใกล้ชิดด้วย
เมื่อลูก มีอายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่ควรพาไปเข้ากลุ่มเรียนรู้ จากครูและเพื่อน ในชั้นเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็ก เพิ่มขึ้นจากการอบรม เลี้ยงดูที่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ก่อนที่จะเข้าเรียน ชั้นประถมศึกษา ดังนี้
- ด้านร่างกาย เน้นความคล่องแคล่ว ในการเคลื่อนไหว และการใช้มือกับตา ให้ทำงานไปด้วยกัน ประสานกัน ในการวาด ปั้น และขีดเขียน- ด้านสติปัญญา เน้นการรับรู้ เรียนรู้ รู้จักแยกแยะ สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เหมือนกัน ต่างกัน รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจใฝ่รู้- ด้านการเข้าใจ และการใช้ภาษา รู้และอธิบายความหมายของคำ และเรื่องราว เล่าเรื่อง และจับใจความสำคัญได้- ด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม มีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเอง รู้จักแบ่งปัน และทำตามระเบียบ รู้จักการรับ และให้ความช่วยเหลือ รู้จักขอบคุณ และขอโทษ
ทั้งนี้ ต้องระวัง อย่าปล่อยปละ จนลูกขาดโอกาสเรียนรู้ แต่ก็ต้องระวัง อย่าเร่งบังคับ ให้ลูกท่องจำ อ่านเขียน จนเคร่งเครียด เกินไป หรือจัดให้เรียนพิเศษ วิชาต่างๆ จนลูกล้า จะเป็นผลเสีย ต่อการพัฒนาความรู้คิด และสร้างสรรค์ของลูก
หัดให้รักและอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และสภาพแวดล้อม
ฝึกภาษาให้ถูกต้อง
พ่อแม่สามารถฝึกภาษาให้ลูกได้ ตั้งแต่แรกเป็นทารก หรือยังเล็กๆ อยู่ โดยพูดคุยกับลูก ด้วยภาษาที่ฟังเข้าใจง่าย และชัดเจน ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร โดยอาจจะใช้วิธี เล่านิทาน อ่านหนังสือ ชี้ให้ลูกดูภาพ หรือเล่าเรื่องเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และฝึกให้ลูกได้ฟัง และหัดพูดภาษาไทย ได้เรียนรู้ภาษาไทย สำหรับสื่อความหมาย และติดต่อกับคนอื่นๆ ได้ในสังคม ทั้งยังเป็นการสืบทอดภาษา อันเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติไทยอีกด้วย
พ่อแม่และผู้ใหญ่เอง จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และส่งเสริมให้ลูก พูดเป็นประโยค อย่างถูกต้อง ใช้คำที่เหมาะสมในการ พูดจาโต้ตอบ อธิบายความรู้สึกนึกคิด ของตน หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และตอบคำถาม อย่างได้ใจความ การเริ่มสอนภาษาไทยนั้น ควรเริ่มจากให้ลูกเห็น และเล่นตัวอักษรไทย และตัวเลขไทย ตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ ขึ้นไป เริ่มฝึกให้รู้จัก ตัวอักษร อ่านและขีดเขียน ทีละเล็กน้อย ราวอายุ 4-5 ขวบ ขึ้นไป ตามความพร้อมของลูก
รู้จักและรักในคุณค่าวัฒนธรรมไทย
เด็กๆ จะซึมซับค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี จากการกระทำของผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น มารยาททางสังคม เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การไหว้ การกินอยู่ การรู้จักสำรวม และเกรงใจ หรือแม้กระทั่ง เรื่องระเบียบวินัยทางสังคม การรักและชื่นชมธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ จะชี้ชวนให้ลูกสนใจ และปลูกฝัง ได้ไม่ยาก ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เขาดูและสนับสนุน ให้ลูกได้คิด และได้ทำ อย่างเหมาะสม เริ่มจากเล่านิทาน ร้องเพลงกล่อมลูก เล่นดนตรี ประดิษฐ์ของเล่นด้วยกัน เล่นการละเล่นพื้นบ้าน พาลูกร่วมกิจกรรม ทางสังคม และประเพณี ตามความเหมาะสม เมื่อลูกสนใจแล้ว เขาจะกระตือรือร้น ที่จะทำเองและพัฒนา เป็นนิสัยที่ดีต่อไป
ปลูกฝังคุณธรรม ระเบียบวินัย และแนวทางประชาธิปไตย
1 สนใจ เข้าใจ ไม่บังคับ
ช่วงอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก เขาจะอยากทำอะไร ด้วยตนเอง มักจะต่อต้านคำสั่ง หรือแสดงอารมณ์โกรธ เมื่อถูกขัดใจ เหล่านี้เป็นพัฒนาการปกติ ตามวัยของเขา หากพ่อแม่เข้าใจในข้อนี้ พยายามหลีกเลี่ยง การบังคับขู่เข็ญ หรือต่อล้อต่อเถียง ทำโทษรุนแรง แต่ใช้วิธีอบรมสั่งสอน ด้วยความเข้าใจ สนใจ ชมเชยเมื่อทำสิ่งที่ควร ช่วยเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ ตลอดจนให้โอกาสเข้าฝึกทำอะไรด้วยตนเองในขณะที่ผู้ใหญ่ยอมรับฟัง และแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยโดยไม่ใช้เสียงดัง หรือกำลังบังคับ ลูกก็จะเรียนรู้ไ้ด้ ด้วยตัวเอง ในที่สุด
2 สอนให้มีคุณธรรม ด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
การปลูกฝังการดำเนินชีวิต อย่างมีคุณธรรม ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างให้เห็น เช่น- จะปลูกฝัง การรักษาความจริง ผู้ใหญ่ต้องไม่หลอก หรือขู่เด็กเสียเอง- จะฝึกการไม่เบียดเบียนกัน ผู้ใหญ่ก็ต้องแสดงความรัก ความเมตตาต่อคนอื่นๆ ด้วยการให้อภัย ไม่ทำร้ายผู้อื่น ทั้งด้วยคำพูด หรือการกระทำ- ฝึกการรู้จักละอาย และควบคุมตัวเอง ต่อการทำความผิด สอนลูกไม่ให้ทำ ในสิ่งที่ไม่ควร- ฝึกหัดความรู้จักพอ ใช้จ่ายแต่สมควร ไม่ตามใจลูก จนไม่มีเหตุผล- ปลูกฝังและฝึกให้ลูก เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี โดยการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในครอบครัว สนใจทุกข์สุข และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งในยามสบาย และยามเจ็บป่วย- ฝึกให้ลูกเรียนรู้ ความต้องการของคนอื่น ไม่เอาแต่ใจตนเอง รู้จักรอ และมีส่วนช่วยเหลือ คนในครอบครัว ตามกำลังควา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น