เด็กพิเศษ (4)



ในมาตรา 18 ยังได้ระบุให้ศูนย์
บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมี
ความต้องการพิเศษ ต้องมีการจัดการศึกษาปฐมวัย และ
การศึกษาขั้นพื้นฐานให้เด็กด้วย โดยมาตรา 37 ได้กำหนด
ให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความ
บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพลภาพ
เป็นหน้าที่ของเขตการศึกษา ซึ่งหากไม่สามารถจัดได้
กระทรวงศึกษาธิการสามารถเข้าไปจัดเพื่อเสริมการบริหาร
และการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้
การจัดการศึกษาของเด็กที่มีความบกพร่องด้านใด
ด้านหนึ่งนั้น นับว่ามีการขยายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เนื่อง
จากมีองค์การรับผิดชอบการดำเนินงานที่ชัดเจน คือ
คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ คนด้อยโอกาส
และคนที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งมีการดำเนินงานด้าน
นโยบายทางด้านกฎหมาย กฎกระทรวง รวมทั้งกองทุน
การศึกษาสำหรับคนพิการ นอกจากนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ยังได้จัดสรรเงินรายหัวสำหรับ
นักเรียนพิการ ให้ได้รับอุดหนุนรายหัวเช่นเดียวกับนักเรียน
ปกติ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับเด็กพิการด้วย ในปีการ
ศึกษา 2545 ได้มีการออกระเบียบและประกาศใช้ระเบียบ
ว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับเด็กพิการ พ.ศ.2546 จัดสรร
เงินอุดหนุนทางการศึกษาให้แก่ศูนย์ทางการศึกษา สนับสนุน
ครุภัณฑ์ให้โรงเรียนแกนนำการศึกษาพิเศษ และสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพการพิการของเด็กพิการด้วย
2. ทำอย่างไรจึงจะมีครูที่ได้รับการฝึกฝน เฉพาะ
ทางด้านการดูแลเด็กพิเศษ เพื่อที่จะสามารถช่วยให้เด็ก
เหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพที่เขามีอยู่
ปัจจุบันประเทศไทยมีครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้
น้อยมาก สมควรที่รัฐจะให้การส่งเสริมเป็นพิเศษควบคู่ไป
กับการลงทุนด้านการจัดตั้งโรงเรียน สถาบันหรือจัดระบบ
ให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเด็ก
พิเศษเหล่านี้
องค์ประกอบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพ
ของการศึกษาพิเศษ และเป็นปัญหาหลักของประเทศ
ปัจจุบันครูที่มีคุณวุฒิทางด้านนี้โดยตรงมีน้อยมาก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับจำนวนเด็กและปัญหาของเด็ก
การจัดการศึกษาพิเศษยังต้องพึ่งครูในระบบปกติ ซึ่งมักไม่
ได้รับการฝึกฝนเฉพาะทางด้านนี้มาก่อน กอปรกับจำนวน
เด็กปกติที่ครูต้องดูแล มีมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงหวังได้ยาก ดังนั้น ทาง
กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ขึ้น โดยจัด
สรรทุนการศึกษาแก่นักเรียนให้ศึกษาในสาขาวิชาที่สำคัญ ๆ
8 สาขา ตามแผนการผลิตครู (พ.ศ. 2547 – 2549) และ
สาขาการศึกษาพิเศษเป็น 1 ใน 8 สาขาที่ได้รับการสนับสนุน
ดังกล่าว เป็นจำนวน 200 ทุน ต่อปี ดังนั้นภายในปี
2550 ประเทศไทยจะมีครูเฉพาะทางด้านการศึกษาพิเศษ
จำนวน 600 คน นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ครูจำนวน 600 คน ดังกล่าวเมื่อเทียบกับ
ความต้องการของเด็ก ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนแสนก็ยังไม่
เพียงพอ จึงควรที่หน่วยงานเอกชนทั้งหลายจะเข้ามาร่วม
ให้การสนับสนุนให้มากขึ้น
3. ทำอย่างไรครูประจำการจึงจะได้รับการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำอย่างไร
ครูจึงจะมีโอกาสได้เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ขณะปฏิบัติงาน ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างวัฒนธรรม
แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับครูไทย ไม่ว่าจะเป็นครูของเด็ก
ปกติหรือเด็กพิเศษก็ตาม


การพัฒนาคุณภาพของครูนั้น หน่วยงานที่
ทำหน้าที่ผลิตครูและหน่วยงานที่ใช้ครู ควรให้ความสนใจ
ในการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการที่หลาก
หลาย เช่น การประชุม อบรม สัมมนา การนิเทศการ
เรียนการสอน การได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการได้รับการ
สนับสนุนด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ หนังสือและวัสดุ
ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนาความรู้ความ
เข้าใจ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาเป็นกฎหมายที่
มีผลบังคับใช้ดังนั้น จึงเป็นที่อุ่นใจได้สำหรับพ่อแม่
ผู้ปกครอง ในระดับหนึ่งว่า เด็กไทยที่มีความต้องการพิเศษ
เหล่านั้น จะมีสิทธิ์ได้รับการดูแล และได้รับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานตามอัตภาพและศักยภาพของแต่ละคน เหมือนกับเด็ก
ปกติทั่วไป ซึ่งก็คงต้องคอยติดตามดูกันต่อไปว่า จะมีความ
ก้าวหน้าในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องไปมาก
น้อยเพียงใด ซึ่งเด็กพิเศษในปัจจุบันก็คงจะได้รับความ
พิเศษที่แตกต่างจากในอดีตอย่างแน่นอน ......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น